EDPAproject

โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

@ผู้รับผิดชอบโครงการ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2

@ที่มาโครงการ

โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (The project of Raising the Quality of Education base on Performance Appraisal methods) ใช้อักษรย่อของโครงการ คือ EDPA_project และสัญลักษณ์ (โลโก้) โครงการดังนี้


เกิดขึ้นตามภารกิจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการบริหารจัดการศึกษา การกำกับ ติดตาม ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และระดับนโยบาย

ประกอบกับ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสายงาน ซึ่งกำหนดให้ทุกตำแหน่งจัดทำข้อตกลงพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) กับผู้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง และตามประเด็นพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สำคัญ ผลของการพัฒนาตามข้อตกลงดังกล่าว นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา และเป็นข้อมูลสำหรับการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น คงวิทยฐานะ และหรือเพื่อการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เพื่อให้การประเมินตำแหน่งและการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการบูรณาการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบโดยมุ่งหวังให้ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครู เป็นผู้ที่มีสมรรถนะ สามารถแก้ปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยนและสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งตน อันเป็นการส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ คุณภาพครู คุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายการศึกษาและยุทธศาสตร์ของชาติ

@วัตถุประสงค์

1) เพื่อกำหนดประเด็น เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายคุณภาพการศึกษาที่จะยกระดับหรือพัฒนาให้สูงขึ้น (หน่วยงานมีประเด็น เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายคุณภาพการศึกษาที่จะมุ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือมีการพัฒนามากขึ้น)

2) เพื่อจัดทำข้อตกลงการพัฒนางานที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งกับภารกิจของหน่วยงานตามสภาพบริบท (ข้อตกลงพัฒนางานของแต่ละตำแหน่งแต่ละหน่วยงานมีประเด็นประเมิน ตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมินที่ครอบคลุม ชัดเจน เหมาะสม และเป็นไปได้)

3) เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตามการปฏิบัติงานตามข้อตกลงพัฒนางาน (บุคลากรทุกตำแหน่งได้รับการนิเทศกำกับ ติดตาม การปฏิบัติงานตามข้อตกลงพัฒนางาน)

4) เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงพัฒนางาน (บุคลากรทุกตำแหน่งมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินฯและมีรายงานผลการประเมินเพื่อการพัฒนา)

5) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามประเด็น เป้าหมาย ตัวชี้วัด รายหน่วยงานและโดยรวม (ผลการประเมินฯ(คะแนน/จำนวน/ร้อยละ/ระดับคุณภาพ) ตามประเด็น เป้าหมาย ตัวชี้วัด รายหน่วยงานและโดยรวมครั้งหลังสูงกว่าการประเมินครั้งก่อน)

6) เพื่อค้นหาวิธีการทีดี นวัตกรรมในการยกระดับหรือพัฒนาการศึกษาให้สูงขึ้น (หน่วยงานมีชิ้นงานวิธีการที่ดี หรือนวัตกรรมการศึกษา มีการเผยแพร่และแสดงชิ้นงาน)

@กระบวนงาน

การดำเนินการโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (EDPA_project) ใช้กระบวนงานตามวงจรคุณภาพ deming cycle (P-D-C-A)

โดยมีขั้นตอนดำเนินงานพอสังเขป ดังนี้

1) PLAN ขั้นการวางแผน

1. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี

– การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการตามบริบทหน่วยงาน และนโยบย

– กำหนดประเด็น เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายคุณภาพการศึกษา

– การจัดทำโครงการ กิจกรรม เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี

– การกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนและโครงการสู่การปฏิบัติระดับสำนักงาน เครือข่าย สถานศึกษา และห้องเรียน

2. การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement ; PA)

– การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ PA และการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาด้วย EDPA_project

– การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ PA และการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาด้วย EDPA_project (ผ่านการประชุมชี้แจง)

– การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุนการจัดทำข้อตกลงพัฒนา (ผ่านหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำข้อตกลงพัฒนา)

– การประกาศนโยบาย จุดเน้น เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายตัวชี้วัดของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำข้อตกลงพัฒนางานของครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารการศึกษา

– การจัดทำข้อตกลงพัฒนางาน

2) DO ขั้นลงมือปฏิบัติ

– การปฏิบัติงานตามภารกิจหน้าที่ตามมาตรฐานตำแหน่ง วิทยฐานะ

– การดำเนินงานตามโครงการหรือกิจกรรม

– การดำเนินงานตามข้อตกลงพัฒนางาน

– การนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม และตามข้อตกลงพัฒนางาน

– การประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC เพื่อแก้ปัญหา พัฒนางานระหว่างดำเนินงาน

3) CHECK ขั้นการตรวจสอบ

– การเตรียมการก่อนประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงพัฒนางาน

– การติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ หรือ กิจกรรม

– การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงพัฒนางาน

– การจัดประกวดวิธีการทีดี นวัตกรรมในการยกระดับหรือพัฒนาการศึกษา

– การจัดแสดง เผยแพร่รูปแบบ วิธีการที่ดี นวัตกรรมพัฒนาคุณภาพการศึกษา

– จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงพัฒนางาน

– จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการของแผนปฏิบัติการประจำปี

– การสังเคราะห์ สรุปประเด็นปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะจาก(รายงานโครงการ รายงานตามข้อตกลงพัฒนางาน) เพื่อ ปรับปรุง แก้ไข (ระหว่างดำเนินการหรือสิ้นสุดโครงการ)

4) ACT การปรับปรุง (ทั้งระหว่างดำเนินงานและสิ้นสุดวงรอบ)

-การทบทวน ปรับปรุงทิศทางการพัฒนาการศึกษา (วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ นโยบาย จุดเน้น เป้าหมาย ตัวชี้วัด) ของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

– การทบทวน ปรับปรุง แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี โครงการ กิจกรรม

– การทบทวน ปรับปรุงระบบ กระบวนงาน รูปแบบวิธีดำเนินงาน หรือโมเดลพัฒนา

@เป้าหมาย (ผลลัพธ์)

เป็นไปตามตัวชี้วัดการประเมินตามเป้าหมายโครงการ ตัวชี้วัดเป้าหมายของกิจกรรม ตัวชี้วัดตามประเด็นข้อตกลงพัฒนางานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ (ซึ่งต้องประเมินด้วยเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสม มีคุณภาพ มาตรฐาน และได้รับการยอมรับ)

– ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้(คะแนนผลสัมฤทธิ์ จำนวนครั้งพฤติกรรม จำนวนคนผ่านเกณฑ์ประเมิน ระดับการประเมิน) เพิ่มขึ้น หรือสูงขึ้น

– ผู้เรียนมีคุณลักษณะทักษะ สมรรถนะที่ดีขึ้น หรือเพิ่มขึ้น (ระดับ จำนวนครั้ง จำนวนคน)

– ครูได้รับการพัฒนา มีทักษะ มีสมรรถนะที่สูงขึ้น จำนวนมากขึ้น (ระดับ จำนวนครั้ง จำนวนคน)

– โรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ สูงขึ้นหรือมากขึ้น (ระดับ คะแนน จำนวนครั้ง จำนวนชิ้น)

– มีแบบอย่างที่ดีในการพัฒนานักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา (ระดับ จำนวนครั้ง จำนวนคน จำนวนชิ้น)

@ระยะเวลาดำเนินการ (2 วงรอบปีงบประมาณ)

1) ดำเนินการรอบที่ 1 ตั้งแต่ ตุลาคม 2564- กันยายน 2565

2) ดำเนินการรอบที่ 2 ตั้งแต่ ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566

@ความคาดหวังจากโครงการ

คุณภาพการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามประเด็น เป้าหมาย ตัวชี้วัดการประเมิน (นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หรือมีการพัฒนามากขึ้น มีวิธีการที่ดี มีนวัตกรรมการศึกษาที่เป็นแบบอย่างได้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานำผลการประเมินฯไปใช้เป็นคุณสมบัติในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น และนำไปใช้ในการบริหารงานบุคคลด้านอื่นๆ

หมายเหตุ ;

1) โครงการยังขาดความสมบูรณ์ พร้อมรับการวิพากษ์หรือข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะมีการประเมินโครงการด้วย

2) คำสำคัญ นิยามศัพท์ ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ และหรือประเด็นอื่น ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป

@วีดีโอความรู้ PA

%d bloggers like this: