เงินเดือนข้าราชการคืออะไร ปรับเงินเดือนข้าราชการครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ การปรับเงินเดือนครั้งใหม่จะเกิดขึ้นไหม

เงินเดือนข้าราชการ คืออะไร

เงินเดือนข้าราชการ คือ เงินเดือนพื้นฐาน (Base Salary) คือค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนตามประเภทตำแหน่ง และระดับตำแหน่ง เพื่อสะท้อนถึงขนาดของงาน (Job Size) ผลงาน (Pergormance) และสมรรถนะ (Competency) โดยปัจจุบันได้แบ่งบัญชีเงินเดือนออกเป็น 4 บัญชีตามประเภทตำแหน่ง ได้แก่ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป ซึ่งแต่ละประเภทได้มีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของแต่ละระดับไว้

 

เงินเดือนตำแหน่งประเภทบริหาร

  • ระดับสูง 29,980-76,800 บาท
  • ระดับต้น 24,400-29,980 บาท

 

เงินเดือนตำแหน่งประเภทอำนวยการ

  • ระดับสูง 24,400-70,360 บาท
  • ระดับต้น 19,860-59,500 บาท

เงินเดือนตำแหน่งประเภทวิชาการ

  • ระดับปฏิบัติการ 7,140-26,900 บาท
  • ระดับชำนาญการ 13,160-43,600 บาท
  • ระดับชำนาญการพิเศษ 19,860-58,390 บาท
  • ระดับเชี่ยวชาญ 24,400-69,040 บาท
  • ระดับทรงคุณวุฒิ 29,980-76,800 บาท

เงินเดือนตำแหน่งประเภททั่วไป

  • ระดับปฏิบัติงาน 4,870-21,010 บาท
  • ระดับชำนาญงาน 10,190-38,750 บาท
  • ระดับอาวุโส 15,410-54,820 บาท
  • ระดับทักษะพิเศษ 48,220-69,040 บาท

 

เงินเดือนข้าราชการปี 2566 ออกวันไหน

  • มกราคม เงินเข้าบัญชี วันที่ 26 มกราคม 2566
  • กุมภาพันธ์ เงินเข้าบัญชี วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
  • มีนาคม เงินเข้าบัญชี วันที่ 28 มีนาคม 2566
  • เมษายน เงินเข้าบัญชี วันที่ 25 เมษายน 2566
  • พฤษภาคม เงินเข้าบัญชี วันที่ 26 พฤษภาคม 2566
  • มิถุนายน เงินเข้าบัญชี วันที่ 27 มิถุนายน 2566
  • กรกฎาคม เงินเข้าบัญชี วันที่ 25 กรกฎาคม  2566
  • สิงหาคม เงินเข้าบัญชี วันที่ 28 สิงหาคม 2566
  • กันยายน เงินเข้าบัญชี วันที่ 26 กันยายน 2566
  • ตุลาคม เงินเข้าบัญชี วันที่ 26 ตุลาคม 2566
  • พฤศจิกายน เงินเข้าบัญชี วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
  • ธันวาคม เงินเข้าบัญชีวันที่ 26 ธันวาคม 2566

การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการครั้งล่าสุด

การปรับขึ้นเงินดือนข้าราชการครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2556

  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯพระราชบัญญัติ 4 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558, พ.ร.บ.ระเบียบเงินเดือนวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558, พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2558
  • โดยมีสาระสำคัญคือให้ปรับเพิ่มเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการชั้นผู้น้อยทุกประเภทตั้งแต่ระดับ 1-7 ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ปัจจุบัน
  • นอกจากนี้ยังปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการทุกประเภททุกระดับเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 10 ระดับ 1-7 ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ปัจจุบัน 

การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จะเกิดขึ้นครั้งใหม่

-คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2566 มีมติเห็นชอบตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เสนอ โดยมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดการศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำและรายงานผลให้ ครม. ทราบโดยเร็ว

-พร้อมกันนั้น ครม. มอบหมายให้นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการข้าราชการพลเรือน รับไปเร่งรัดให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ แนวทาง กรอบระยะเวลา และผลกระทบของการปรับอัตราเงินดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ชัดเจน และรายงานผลให้ ครม. ทราบโดยเร็วภายในเดือน พ.ย.2566

การศึกษาความเป็นไปได้ ของการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ

-การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ได้รับมอบหมายจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ไปศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ แนวทาง กรอบระยะเวลา และผลกระทบของการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่รัฐ กล่าวว่า

ได้นัดหารือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 คาดว่าประชุม 2 ครั้งจะได้ข้อสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้จะขึ้นเท่าไหร่ เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

“ไม่มีอะไรหนักใจ ซึ่งจะเป็นข่าวดีสำหรับข้าราชการ ส่วนจะขึ้นเท่าไหร่ต้องเป็นไปตามนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ อยากจะขึ้นให้เต็มที่ แต่ต้องดูงบประมาณ และจำนวนคนที่จะขึ้น ระดับใดที่จะขึ้นได้บ้าง จึงต้องฟังความเห็นจากภาคราชการด้วย” นายปานปรีย์กล่าว

ที่มา ; ประชาชาติธุรกิจ

Leave a Reply