พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 สาระสำคัญ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2566 กรณีความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว และโทษปรับทางปกครอง มีการเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย และมีค่าปรับเป็นพินัย
– เงินค่าปรับที่ต้องชำระให้แก่รัฐ
– เป็นมาตรการทางกฎหมายใช้แทนโทษทางอาญา ทางปกครอง
– ใช้สำหรับผู้กระทำความผิดไม่ร้ายแรงและโดยสภาพไม่กระทบกับความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรงหรือไม่กระทบอย่างวงกว้าง
– ไม่มีจำคุกหรือกักขังแทนค่าปรับ
– ไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรม
– เปลี่ยนความผิดทางอาญาที่มีโทษสถานเดียวและโทษปรับทางการปกครอง (ตามกฎหมาย 204 ฉบับ) เป็น “ความผิดทางพินัย” และผู้กระทำความผิดดังกล่าวต้องชำระ “ค่าปรับเป็นพินัย”
– ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ มีอำนาจปรับเป็นพินัย ถ้าผู้กระทำความผิดยินยอมชำระค่าปรับเป็นพินัยตามจำนวนและเวลาที่กำหนดให้คดีเป็นอันยุติ แต่หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ส่งสำนวนให้อัยการฟ้องคดีต่อศาล
– ผู้ที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระค่าปรับเป็นพินัย แต่ไม่ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนด ให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สิน
– การชำระเป็นค่าปรับเป็นพินัยต้องให้เหมาะสมกับความรุนแรงของการกระทำความผิดและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิด สามารถขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นรายงวดได้ แต่ถ้าไม่มีเงินชำระค่าปรับ ขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนได้
– หากทำความผิดทางพินัยเพราะเหตุแห่งความยากจนเหลือทนทานหรือความจำเป็นอย่างแสนสาหัสในการดำรงชีวิต ผู้กระทำความผิดสามารถยื่นคำร้องให้กำหนดค่าปรับเป็นพินัยต่ำกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือขอทำงานบริการสังคมทดแทนได้
#กฎหมายที่เข้าข่าย(พรบ.) ที่เปลี่ยนจากโทษปรับทางอาญา ทางปกครอง เป็นโทษปรับเป็นพินัย จำนวน 204 ฉบับ เช่น
-กรณีครูและบุคลากรทางการศึกษา อาจเป็นผู้กระทำความผิด และต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย ตาม พรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 (กรณีทำผิดกฎหมายจราจร) พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (กรณีผู้ขายสินค้า) หรือ พรบ.อื่น ตามบัญชีกฎหมายฯที่กำหนด
-กรณีครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปรับเป็นพินัยของผู้กระทำความผิด ได้แก่ ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 13-16 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 หรือ มาตรา 131-151 ของ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 เป็นต้น
#ตัวบทกฎหมาย คู่มือดำเนินการ บัญชีรายชื่อกฎหมาย และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการปรับเป็นพินัย
1.พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565
2. ถามตอบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัยฯ
3.รวมกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย ทั้งตัวบทกฎหมาย คำอธิบายกฎหมาย ถาม-ตอบกฎหมาย และความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย
Cr ; FB สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ศธ.ได้มึประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ให้อำนาจผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นเจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจในการปรับเป็นพินัยของผู้กระทำความผิด ได้แก่ ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 13-16 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในประกาศ เมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566

เกี่ยวกัน

‘บิ๊กอุ้ม’ ลงนามประกาศกำหนดเจ้าหน้าที่รัฐทำหน้าที่ปรับเป็นพินัย ถือประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยของหน่วยงานในสังกัดศธ. จำนวน 3 ฉบับ รองรับพ.ร.บ. ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ที่มีผลให้ความผิดทางอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว เป็น “ความผิดพินัย” หรือมาตรการปรับที่สร้างขึ้นใหม่

พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าวต่อว่า เมื่อเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรี ได้มีนโยบายและให้ความสำคัญกับการทบทวนกฎหมายด้านการศึกษาเพื่อให้เป็นปัจจุบัน โดยได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานรองรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565  ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือการปรับเปลี่ยนโทษอาญาบางประการ เป็นความผิดทางพินัย ตามอัตราค่าปรับพินัยที่สร้างขึ้นใหม่ ไม่ให้มีสภาพเป็นโทษอาญา โดยผู้กระทำความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยตามจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลกำหนด  ทั้งนี้จากการประชุมหารือกับฝ่ายกฎหมาย พบว่า ในส่วนของศธ. มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

  • พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
  • พ.ร.บ.เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 และ
  • พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550

แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดเจ้าหน้าของรัฐที่มีอำนาจปรับพินัยไว้ จึงได้มอบสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จัดทำประกาศกำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย พร้อมกำหนดอัตราค่าปรับ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยโดยเร็ว

“ผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จึงเร่งให้จัดทำประกาศเพื่อนำสู่การปฏิบัติโดยเร็ว ขณะนี้ได้ลงนามในประกาศเรื่องกำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ทั้ง 3 ฉบับแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นกระทรวงแรก ๆ ที่ทำสำเร็จ ตามสไตล์การทำงาน “ทำดี ทำได้ ทำทันที” ที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง และทำให้คำว่าคุกมีไว้ขังคนจนหมดไป ทั้งนี้ ขอฝากให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ไปยังผู้บริหารการศึกษาและโรงเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ” รมว.ศธ. กล่าว 

ทั้งนี้การกำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ประกอบด้วย

  1. การศึกษาภาคบังคับ ให้อำนาจปรับแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ปลัดเทศบาล ปลัดเมืองพัทยา หรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อื่น ๆ ผู้อำนวยการเขตในกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารสถานศึกษาทุกสังกัด เช่น ผู้ที่ปราศจากเหตุอันสมควร กระทำการอันเป็นเหตุให้เด็กไม่ได้เรียน ในสถานศึกษา มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

2.เครื่องแบบนักเรียน อยู่ในอำนาจศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ผู้อำนวยการ สพท. และผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด ศธ. กำหนดว่า ผู้ใดแต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่มีสิทธิ หรือแต่งกายเลียนแบบเครื่องแบบนักเรียน ถ้ากระทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนเป็นนักเรียน มีความผิดทางพินัย ต้องชำระค่าปรับพินัยไม่เกินหนึ่งพันบาท และ

3.โรงเรียนเอกชน มีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจปรับตามลำดับ ได้แก่ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เลขาธิการและรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ผู้ว่าราชการจังหวัด ศธจ.และรอง ศธจ. ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในสังกัด ศธจ. ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ และข้าราชการระดับชำนาญการขึ้นไปหรือเทียบเท่า ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ กอศ. และสังกัด สช. และสังกัด ศธจ.แล้วแต่กรณี

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566

Leave a Reply