ใครบ้างมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ใครบ้างมีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

  1. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เป็นเรื่องของผู้มีหน้าที่ที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 (พระราชบัญญัติฯ) และประกาศที่เกี่ยวข้อง
  1. ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
    การทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) มีใครบ้าง
             1) เจ้าพนักงานของรัฐตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 102
    2) เจ้าพนักงานของรัฐตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 103 
    3) พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกองขึ้นไป ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน พนักงานไต่สวน หัวหน้าพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีตำแหน่งและหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 158

คลิกตรวจสอบ ตำแหน่งที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 และมาตรา 103 (ตำแหน่งที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินต่อ ปปช..pdf ข้อมูล ณ วันที่ 14 ก.ย.65)

  1. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินฯ มีรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการอย่างไร

       

         3.1 การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมี 3 กรณี ดังนี้

1) กรณีเข้ารับตำแหน่ง
2) กรณีดำรงตำแหน่งครบทุกสามปี หมายถึง ทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยให้นับระยะเวลา ดังนี้

2.1) กรณีผู้ยื่นบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่งตามกฎหมายฉบับเดิม เช่น ปลัดกระทรวงฯ อธิบดี ให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งทุกสามปีต่อไปนับแต่วันที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินครั้งล่าสุด
2.2)  กรณีผู้ยื่นบัญชีไม่เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่งตามกฎหมายฉบับเดิม เช่น รองปลัดกระทรวงฯ แต่มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ทุกสามปีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายฉบับใหม่ ให้เริ่มนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งทุกสามปีตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติฯ ปี พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น รองปลัดกระทรวงฯ มีหน้าที่ยื่นบัญชีกรณีดำรงตำแหน่งทุกสามปี
2.3) กรณีผู้ยื่นบัญชีไม่เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามกฎหมายฉบับเดิม แต่เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ตามกฎหมายฉบับใหม่ เช่น รองอธิบดี กำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ เข้ารับตำแหน่งวันที่ 2 ธันวาคม 2565 และครบกำหนดที่ต้องยื่นครบสามปี วันที่ 1 ธันวาคม 2568

2.4)  กรณีพ้นจากตำแหน่ง หมายถึง เกษียณอายุราชการ ลาออก 

หมายเหตุ – หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดเคยดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแล้ว ผู้นั้นจะต้องมีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ทุกสามปีต่อไปจนกว่าจะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (เกษียณ/ลาออก) ถึงแม้ในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีการโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นที่ไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ก็ตาม   เช่น  เคยดำรงตำแหน่งอธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติฯ ต่อมาได้พ้นจากตำแหน่งอธิบดีและเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูต ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ผู้นั้นยังคงมีหน้าที่ยื่นบัญชีฯทุกสามปีนับจากวันที่มีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีต่อไปจนกว่าเกษียณอายุราชการ 

         3.2 กำหนดระยะเวลายื่นบัญชีฯ  ให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่มีหน้าที่ในแต่ละกรณีโดยให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ถัดจากวันที่มีหน้าที่

3.3 ทรัพย์สินที่ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ที่มีอยู่จริงทั้งในประเทศและต่างประเทศให้รวมถึงทรัพย์สินที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อาทิ ทรัพย์สินในกองมรดกที่ผู้จัดการมรดกครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก

3.4 การจัดทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบ  กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ กรอกแบบฟอร์มตามรูปแบบที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ สำนักงาน ป.ป.ช. www.nacc.go.th > คลิกเมนู แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ซึ่งระบุให้แสดงรายการทรัพย์สิน 9 รายการ และหนี้สิน 4 รายการ พร้อมทั้งเอกสารประกอบ โดยมีเอกสารที่ต้องยื่น ดังนี้

1) แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
2) เอกสารประกอบรายการทรัพย์สินแต่ละประเภท
3) สำเนาหลักฐานแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา
หมายเหตุ – เอกสารที่ยื่น ต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับไว้ทุกแผ่นทุกหน้า (แบบบัญชี และสำเนาที่ยื่นฯ) การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ให้ยื่นจำนวน 1 ชุด เว้นแต่ ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงฯ และอธิบดี (ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง) ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ จำนวน 2 ชุด หนึ่งชุดเป็นต้นฉบับ อีกชุดหนึ่งเป็นสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และเอกสารประกอบ ให้ประชาชนได้ทราบ 

          3.5 ช่องทางการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
1) ยื่นด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นแทน ได้ที่
สำนักพัฒนาระบบตรวจสอบทรัพย์สิน อาคาร 4 ชั้น 1
สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย
อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

2) ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

กราบเรียน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงาน ป.ป.ช. เลขที่ 361 ถ. นนทบุรี
อ. เมืองนนทบุรี จ. นนทบุรี 11000

3) ยื่นทางวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์
โดย Link เข้าใช้ระบบ https://asset.nacc.go.th./ods-app
คู่มือยื่นทรัพย์สินหนีสินต่อคณะกรรมการ ปปช..pdf

  1. กฎหมายและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

@พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2561 ลงวันที่ 11 ธันวาคม พุทธศักราช 2561 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 

@กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน

– ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ และการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการยื่นบัญชี พ.ศ. 2561

– ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช พ.ศ. 2561

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พ.ศ. 2561​

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ของผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสอันถือว่าเป็นคู่สมรส พ.ศ. 2561​

@ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102

ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 102 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2564

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 102 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565

@ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 พ.ศ. 2561

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 103 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 103 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 103 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2564

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 103 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 103 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2565

 

@ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง แบบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พ.ศ. 2563

– ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

@แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง แบบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พ.ศ. 2563

– แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (PDF)

– แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (Microsoft Office Word 97-2003) (ห้ามเปลี่ยนแปลง แก้ไข รูปแบบของแบบบัญชี ฯ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น)

 ตัวอย่างการกรอกแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง แบบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พ.ศ. 2563

@สื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) ความรู้เกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

ความรู้เกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแสดง

– ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา 102, มาตรา 103 และมาตรา 158

– คู่สมรส

– รายได้ที่ต้องแสดง

– รายจ่ายที่ต้องแสดง

– กรณีที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน (ภาพที่ 1)

– กรณีที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน (ภาพที่ 2)

– การกำหนดเวลาในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่ง

– ตัวอย่างการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่ง

– การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง

– การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีทุก 3 ปี

– ตัวอย่างการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีทุก 3 ปี

– การขยายระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

– การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเกินกำหนดระยะเวลา

 

@คู่มือการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (กรณีตัวอย่างกระทรวงสาธารณสุข)

   –คู่มือการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 

@การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 

– เข้าใช้ระบบ https://asset.nacc.go.th./ods-app
– ศึกษาคู่มือการใช้งาน https://bit.ly/3RmkYrs
– วีดิทัศน์แนะนำการใช้งาน https://bit.ly/3AUjqxI
ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 

ที่มา ; สำนักงาน ปปช.

Leave a Reply