เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม อ.ก.ค.ศ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะครูชำนาญการ และเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ตามผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินฯ ที่ดำเนินการผ่านระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 420 ราย ดังนี้ วิทยฐานะครูชำนาญการ จำนวน 291 ราย และวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 129 ราย และอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.4/ว 17 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552 รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 ราย ดังนี้ ผู้อำนวยการวิทยาลัย จำนวน 1 ราย รองผู้อำนวยการวิทยาลัย จำนวน 19 ราย โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ในระบบ DPA ของสถานศึกษาที่สังกัด
เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2566 เห็นชอบให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มเติม เป็นผู้มีคุณสมบัติ เพื่อขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการและเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ที่ยื่นคำขอผ่านระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ ว 9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 214 ราย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ยื่นคำขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ จำนวน 132 ราย และครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ยื่นคำขอเลื่อนวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 82 ราย
ทั้งนี้ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติ เพื่อขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ และเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ เพิ่มเติม จะอยู่ในกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 เดือน นับจากนี้ สอศ. พร้อมเร่งรัดและขับเคลื่อนในการดำเนินการขอมีวิทยฐานะ เพื่อการสร้างความก้าวหน้า เป็นขวัญกำลังในใจ และเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพครูอาชีวศึกษา
เลขาธิการ กอศ. เผย ที่ประชุม อ.ก.ค.ศ.สอศ. ไฟเขียวเลื่อนวิทยะฐานะครูอาชีวะเกณฑ์ DPA ฉลุย จำนวน 420 ราย
ที่มา ; เดลินิวส์ 24 พฤษภาคม 2566
คะแนนประเมิน
ข่าวเกี่ยวกัน
ชี้ ก.ค.ศ.ประเมินวิทยฐานะใหม่ล่าช้า ครูไม่ได้รับแจ้งผล-คาด ‘กก.ประเมิน’ ไม่พอ ทำแม่พิมพ์เสียสิทธิ-จี้ทบทวน-เพิ่มทางเลือก
นายณรินทร์ ชำนาญดู ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ยื่นผลงานเพื่อเข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว9/2564) หรือเกณฑ์ PA (Performance Agreement) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 มีผู้ยื่นขอเข้าประการประเมินกว่า 40,000 รายนั้น พบว่า จนถึงขณะนี้ มีครูจำนวนมากยังไม่ได้รับการแจ้งผลการประเมิน และได้ส่งเรื่องร้องเรียนมายัง ส.บ.ม.ท.
นายณรินทร์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่การตรวจประเมินมีความล่าช้า อาจเป็นเพราะขาดกรรมการผู้ประเมิน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ส่งรายชื่อผู้ขอเข้ารับการประเมิน ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อสุ่มเลือกคณะกรรมการผู้ประเมินผ่านระบบวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal : DPA) โดยแจ้งกรรมการผ่านอีเมล ซึ่งบางรายไม่ได้เปิดเช็กอีเมลทุกวัน ทำให้อาจพลาดข้อมูลการคัดเลือกให้เป็นกรรมการ แสดงให้เห็นว่าระบบการคัดเลือกกรรมการผู้ประเมินอาจจะยังไม่มีความเสถียร จนทำให้การประเมินเกิดความล่าช้า
“เรื่องนี้มีครูกว่า 500 ราย ร้องเรียนมาที่ ส.บ.ม.ท.เท่าที่ทราบตั้งแต่ ก.ค.ศ.เปิดระบบ DPA มีการปรับปรุงหลายรอบ ยังไม่นับรวมกรรมการประเมินกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ที่มาแต่งตั้งกันภายหลังจากเปิดระบบ มีการสรรหากรรมการใหม่หลายครั้ง ทำให้การประเมินล่าช้า โดยครูส่งผลงานการประเมินไปตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2565 แต่ยังไม่ได้รับการประเมิน จนเวลาล่วงเลยมาภาคเรียนที่ 1/2566 กินเวลาไปกว่า 8 เดือน และถ้าครูถูกประเมินตก ก็ถือว่าทำให้เสียสิทธิในการยื่นประเมินใหม่ในช่วงภาคเรียนที่ 2/2565 ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ว9/2564 ที่ประกาศออกมาว่าจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันยื่นผลงาน” นายณรินทร์ กล่าว
นายณรินทร์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวอยากให้ ก.ค.ศ.ทบทวนการคัดเลือกกรรมการ อาจให้มีระบบแต่งตั้งได้หรือไม่ โดยเฉพาะกรรมการประเมินในสาขาที่ขาดแคลน หายาก เช่น ภาษาพม่า ฯลฯ เพื่อเพิ่มจำนวนกรรมการให้เพียงพอ ทั้งนี้ ผมเองเข้าใจว่าเกณฑ์ DPA มีประโยชน์ ช่วยลดเอกสารการประเมิน แต่ก็อาจไม่เหมาะสมกับครูที่สอนในโรงเรียนที่มีบริบทต่างกัน เช่น ครูที่สอนในพื้นที่ห่างไกล อาจไม่สะดวกในเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปิดกว้างให้ครูสามารถเลือกประเมินวิทยฐานะได้ตามบริบทของตัวเอง โดยนำเกณฑ์การประเมินที่เคยยกเลิกไปกลับมาพิจารณาใช้ใหม่ ควบคู่ไปกับการประเมิน DPA เช่น การประเมินตาม ว17, ว21 หรือ ว13 หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เป็นต้น ขณะเดียวกันจะต้องทบทวนประเมินตาม ว9 โดยเฉพาะการคัดเลือกกรรมการผู้ประเมิน ซึ่งอาจจะต้องดำเนินการให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
“เรื่องนี้มีครูได้รับผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้น ผมจะรวบรวมประเด็นปัญหาทั้งหมด เพื่อเตรียมพร้อมเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คนใหม่ เพื่อวางแนวทางแก้ปัญหาต่อไป” นายณรินทร์ กล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์