หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูฯก่อนแต่งตั้งให้เลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้เลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ตามหนังสือ ว15/2566 (3 พฤษภาคม 2566)

สาระสำคัญโดยสรุป

@คุณสมบัติผู้จะเข้าพัฒนา

-เป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะเชี่ยวชาญมาแล้ว 2 ปี

-เป็น ผอ.สพท. ผอ.กศน.จังหวัด ผอ.สช.จังหวัด วิทยฐานะเชี่ยวชาญมาแล้ว 1 ปี

@วิธีการพัฒนา

– ผู้พัฒนาจัดทำข้อตกลง(ตามแบบ)ในการพัฒนาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับระดับความคาดหวัง(เชี่ยวชาญพิเศษ)

– ผู้พัฒนาจัดหาและเสนอชื่อผู้ชี้แนะ(Coach) ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ พร้อมแบบประวัติ

– อ.ก.ค.ศ.เห็นชอบเป็นข้อตกลงพัฒนา และเห็นชอบชื่อผู้ที่เป็นผู้ชี้แนะ(Coach) ; กรณีผู้พัฒนาเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์

– ส่วนราชการเห็นชอบเป็นข้อตกลงพัฒนา และเห็นชอบชื่อผู้ที่เป็นผู้ชี้แนะ(Coach) ; กรณีผู้พัฒนาเป็น ผอ.สพท. ผอ.กศน.จังหวัด ผอ.สช.จังหวัด

– พัฒนาโดยใช้โครงงานหรือโครงการเป็นฐาน (Project-based Development) ผ่านการแนะนำ ให้การปรึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผู้ชี้แนะ Coach เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทางวิชาการและวิชาชีพ

– พัฒนาไม่น้อยกว่า 4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน

@คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนา (3 คน)

-ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ; อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้ง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชี้แนะ(Coach) และผู้บังคับบัญชาชั้นต้น

-ผอ.สพท. ผอ.กศน.จังหวัด ผอ.สช.จังหวัด ; หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิ (2คน) และผู้ชี้แนะ(Coach)

-การประเมินผลผ่านการพัฒนาใช้มติเอกฉันท์ กรณีไม่ผ่านให้ปรับข้อเสนอ ขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ๆละไม่เกิน 3 เดือน

@ผลของการพัฒนา

-นำไปใช้ในการแต่งตั้งให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นเชี่ยวชาญพิเศษ

-ให้ใช้ผลการพัฒนาได้ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันผ่านการพัฒนา

ที่มา ; สำนักงาน ก.ค.ศ.

EDPAproject >>> PA_VDO >>> PA_Manual (PA)

หลักเกณฑ์การพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ว_15-2566.pdf

ที่มา ; สำนักงาน ก.ค.ศ.

Leave a Reply