เปลี่ยนผ่านความหวังและความท้าทาย จาก กศจ. สู่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานมอบนโยบายการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา “เปลี่ยนผ่านความหวังและความท้าทาย : จาก กศจ. สู่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา” โดยมีนายอรรถพล สังขวาสี ปลัด ศธ. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 245 เขต เข้าร่วมว่า

ช่วงเวลานี้ ถือเป็นช่วงของการก้าวข้าม และเปลี่ยนผ่านการบริหารงานบุคคล จากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มาเป็น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ โดยเจตนารมณ์ของการตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ก็เพราะต้องการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่พื้นที่มากยิ่งขึ้น เราต้องยอมรับว่าบริบทของการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ก็ยิ่งตอกย้ำว่า เราต้องพัฒนาการศึกษา แต่จะทำอย่างไร ให้การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่น คล่องตัวมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การกระจายอำนาจสู่พื้นที่จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ถือเป็นองค์คณะที่สำคัญ เพราะนอกจากดูแลบริหารงานบุคคลจัดสรรคนให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่แล้ว ยังมีหน้าที่การประสานงานด้านต่างๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในระดับภูมิภาค ลดความซ้ำซ้อน พร้อมผลักดันการทำงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

อยากเน้นย้ำให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ยึดหลักธรรมาภิบาลการทำงาน การดำเนินงานต่างๆ ต้องโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับครู และบุคลากรทางการศึกษา ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้ อยากจะให้ กศจ. และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) มากำกับติดตาม ช่วยดูแล และเป็นพี่เลี้ยงส่งมอบงานต่างๆ ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ เพื่อให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ดิฉันมอบหมายให้ ก.ค.ศ.ลงไปติดตาม และประเมินการทำงานของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ในช่วง 3-6 เดือนแรก ว่ามีการทำงานเป็นอย่างไร มีเกณฑ์อะไรที่ควรปรับปรุงเพื่อทำให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ สามารถทำงานบริหารงานบุคคลได้อย่างโปร่งใส สร้างขวัญกำลังใจให้กับครู และสอดรับกับการศึกษาในบริบทของพื้นที่” น.ส.ตรีนุชกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความกังวลว่าเมื่องานบริหารบุคคลกลับมาที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ​ จะทำให้เกิดปัญหาเรียกรับผลประโยชน์เหมือนที่ผ่านมา น.ส.ตรีนุชกล่าวว่า หากมีเรื่องไม่โปร่งใสเกิดขึ้น ศธ.ก็พร้อมจะตรวจสอบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากคนหรือระบบ และจะปรับปรุงให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อการบริหารงานให้เกิดความโปร่งใส และเป็นธรรม

ที่มา ; สำนักงาน ก.ค.ศ.

สรุปประเด็นจากการประชุมมอบนโยบายของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ วันที่ 15 กพ 66 โดย กคศ.

  1. รมต.ศธ.มอบนโยบาย “ยึด ย้ำ ล้ำ เลิศ” ในการบริหารงานบุคคล
  2. เลขาธิการ กพฐ.เน้นย้ำให้มีการจัดทำบันทึกส่งมอบงานจาก กศจ.สู่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานด้านงานบุคคลตลอดปีงบประมาณ และการดำเนินการตามปฏิทินตามคู่มือการบริหารงานบุคคลของสพฐ. โดยสุจริตและมีธรรมาภิบาล
  3. เลขาธิการ ก.ค.ศ. เน้นย้ำ 5 คานงัดสู่คุณภาพการศึกษา โดยอาจมีการนัดประชุมมากกว่าเดือนละครั้งได้ตามความเหมาะสมของภารกิจต่างๆและบทบาทหน้าที่
  4. เครือข่ายสุจริตไทย ฝากคานงัดที่6 คือการสร้างค่านิยมสุจริตในวงนักบริหารการศึกษาไทย มีเครื่องมือฝึกอบรมหลักสูตรสุจริตไทย ทดสอบ/วัดค่านิยมสุจริตพร้อมมีการออกเอกสารรับรองให้ด้วย
  5. การจัดประชุมผู้แทนก.ค.ศ.ระหว่าง 27กพ.-1มีค.66 โดย ก.ค.ศ.และย้ำกรณีการนัดประชุมอ.ก.ค.ศ.โดยประธานฯต้องล่วงหน้าเกินกว่า3วัน การพิจารณาผู้ที่ไม่สามารถร่วมประชุมพิจารณาทางปกครองได้ การสรรหาครูและบุคลากรฯแต่ละสายงาน ได้แก่ คัดเลือกครูผู้ช่วย ว14/64 ว16/57 การคัดเลือกศึกษานิเทศก์ การคัดเลือกรอง ผอ.และผอ.สถานศึกษา
  6. การย้ายครูและผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ใหม่
    6.1 ย้ายครูกรณีปกติรอบแรก 15กพ.-มิย. รอบสองยื่น กค.เป็นต้นไป สำหรับย้ายกรณีพิเศษยังมี4กรณีโดยระบุเพียงอำเภอที่ขอย้ายในเขตพื้นที่ที่ขอไป
    6.2 การย้ายผู้บริหารสถานสถานศึกษา ต้องตั้งกรรมการกลั่นกรองเพื่อดำเนินการก่อนเข้าพิจารณาและกำหนดสัดส่วนตามหลักเกณฑ์ล่าสุดที่บังคับใช้ซึ่งสามารถยื่นย้ายได้เขตพื้นที่เดียวเท่านั้นต่อรอบการย้าย
  7. ระบบDPA ตามว9-ว12(วPA) ซึ่งจะประเมินในเกณฑ์การประเมินเดียวกับการเลื่อนเงินเดือนตาม ว23 ในการวางแผนอัตรากำลังและพิจารณาต่างๆ เพื่อให้เกิดสายความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา โดยยังคงมีการใช้หลักเกณฑ์ขอเลื่อนวิทยฐานะตาม ว17/52 และว21/60 ในช่วงเปลี่ยนผ่านอยู่ในบางกรณี
  8. การประชุมออนไลน์ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ตามพรก.(กฎหมาย)และตามความเหมาะสม/ความจำเป็นในบางกรณีได้
  9. การเริ่มดำเนินการทั้งในส่วนที่มีการส่งมอบงานและงานเกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ การวางแผนอัตรากำลังตาม ว23 การประชุมแบบHybridได้ตามจำเป็น การแจ้งข่าวการบริหารงานบุคคลช่องทางสื่อต่างๆของก.ค.ศ. การบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรม การพิจารณาดำเนินการทางวินัย และการเตรียมการกับการขอย้ายด้วยระบบออนไลน์

ที่มา ; สำนักงาน ก.ค.ศ.

Leave a Reply