ที่มาคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจําเขตพื้นที่การศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)

๑.นิยามและที่มา
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่
  •  อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา คือ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจําเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (โดยออกนามเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ)
  • อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา คือ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจําเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (โดยออกนามเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ)
ทั้งนี้เป็นไปตาม มาตรา ๔ ซึ่งแก้ไข มาตรา ๒๑ ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. ๒๕๔๗ และยกเลิกและแก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (ก่อนที่จะมีคำสั่งยุบ อ.ก.ค.ศ. ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙)
๒.องค์ประกอบของอ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย
  • (๑) ประธานอนุกรรมการ ซึ่งอนุกรรมการเลือกกันเองจากผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ในการนี้ ให้ถือว่าอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) มีจํานวนเท่าที่มีอยู่ (ประธานหนึ่งคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิสามคน)
  • (๒) อนุกรรมการโดยตําแหน่ง จํานวนสองคน ได้แก่ ผู้แทน ก.ค.ศ. และผู้แทนคุรุสภา ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษา ด้านกฎหมาย หรือด้านการเงินการคลัง
  • (๓) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนสี่คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านการเงินการคลัง ด้านละหนึ่งคน
  • (๔) อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา แล้วแต่กรณี จํานวนสามคน ประกอบด้วย ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาจํานวนหนึ่งคน ผู้แทนข้าราชการครูจํานวนหนึ่งคน และผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นจํานวนหนึ่งคน”
  • ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
โดยอนุกรรมการตาม (๒) ซึ่งเป็นผู้แทน ก.ค.ศ. และอนุกรรมการตาม (๓) ต้องไม่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนอนุกรรมการตาม (๒) ซึ่งเป็นผู้แทนคุรุสภาต้องเป็น สมาชิกคุรุสภาและเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากร ทางการศึกษา
ทั้งนี้ อนุกรรมการตาม (๒) และ (๓) ต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้ บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตําแหน่งบริหารในพรรค การเมือง คุณสมบัติอ่ืน หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่ง ของอนุกรรมการตาม (๒) (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กําหนด
อ้างอิง
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2553
๓. การยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค
ข้อ ๕ ให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และให้โอนอํานาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปเป็นอํานาจหน้าที่ของ กศจ. ของจังหวัดนั้น ๆ ตามคําสั่งนี้
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใด ที่อ้างถึง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งน
อ้างอิง
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค

Leave a Reply