ค.อ.ท. แถลงการณ์ ชี้ “ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ” ลิดรอนครูฯ
กลายเป็นข้อกังวลใจให้กับครูทั่วประเทศอย่างมาก ว่า “ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ”ที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา มีเจตนาที่ร่างกฎหมายออกมาเพื่อไม่ให้ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ในหน่วยงานทางการศึกษา หรือสถานศึกษาของรัฐ ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นในอัตราเดิมหรือไม่ ล่าสุด องค์กรครู มีการเคลื่อนไหวโดยออกแถลงการณ์ในเรื่องนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.)
เรื่อง การลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ……
ตามที่ประธานรัฐสภา ได้นัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ ในวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๕ ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…..ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.) ได้พิจารณาแล้ว พบว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้ลิดรอนสิทธิประโยชน์ขั้นฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกตำแหน่ง ดังรายละเอียด ดังต่อไปนี้
มาตรา ๔๑ “ ให้ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาของรัฐได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง หรือค่าตอบแทนอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูอาจมีระดับตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้นผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้บริหารสถานศึกษาอาจมีชื่อตำแหน่งเรียกเป็นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้นได้ ”
(คณะกรรมาธิการให้คงไว้ตามร่างเดิม ในการประชุมครั้งที่ ๔๗ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕)
- ประเด็นลิดรอนที่ ๑ จะเกิดผลกระทบทันที เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
๑. ในวรรคแรก ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษา จะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบแทน ตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ….. ซึ่งจะต้องให้ได้ไม่น้อยกว่าฉบับปัจจุบัน
๒. ในวรรคสอง บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษา
๒.๑) ความหมายตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ ๐๒๐๔,๖/ว ๓ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง มาตราฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
ผู้บริหารการศึกษา ในปัจจุบัน คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสานักงาน ก.ศ.น.จังหวัด รองผู้อำนวยการสำนักงาน ก.ศ.น.จังหวัด ผู้อำนวยการสานักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ผู้อานวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
๒.๒) ตามความหมายในคำสั่งหัวหน้ำ คสช.ที่ ๑๙/ ๒๕๖๐ ข้อ ๑๒ วรรคสอง
“ ให้ศึกษาธิการจังหวัด รองศึกษาธิการจังหวัด และข้าราชการที่่ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ให้ศึกษาธิการจังหวัดดำรงตำแหน่งเทียบกับข้าราชการพลเรือนสำมัญประเภทอำนวยการสูง…”
ความหมายตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง จึงประกอบด้วย ศึกษาธิการจังหวัด และ รองศึกษาธิการจังหวัด
จากความหมายในวรรคสอง ข้อ ๒.๑) และ ข้อ ๒.๒) จึงเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ตามวรรคสองของมาตรา ๔๑ ถึงแม้ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดให้ดำรงตำแหน่งเทียบกับข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอำนวยการสูง แต่ ศึกษาธิการจังหวัดและรองศึกษาธิการจังหวัดเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทั้งข้อ ๒.๑ ) และ ข้อ ๒.๒) จึงได้รับแต่เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง หรือ เงินค่าตอบแทน ความหมายคือ ถ้าได้เงินประจำตำแหน่ง ก็จะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทน หรือถ้าไม่ได้เงินประจำตำแหน่ง ก็จะได้แต่เงินค่าตอบแทน จะไม่ได้เงินวิทยฐานะ
ดังนั้น ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลบังคับให้เกิดการลิดรอนสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ดังกล่าวมานี้ ซึ่งเป็นการทำลายหลักความยุติธรรมในการออกพระราชบัญญัติ และเป็นการออกกฏหมายที่ขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ ( Constitutional Principle ) ที่ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักความเสมอภาค ( Equality) ที่ปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญอย่างเดียวกันแต่ปฏิบัติแตกต่างกัน และในร่างมาตรา ๔๑ ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ดังนี้
ในมาตรา ๒๖ “ การตรากฏหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วยกฎหมายตำมวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจำะจง”
ในมาตรา ๒๗“ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชำยและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุุ ความพิการ สภาพร่างกาย หรือสุขภาพ สภานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ …..”
- ประเด็นที่ลิดรอนที่ ๒อาจเกิดผลกระทบเมื่อออกกฎหมายตามที่กาหนดไว้ในวรรคสามและวรรคท้ายของมาตรา ๔๑ มีผลใช้บังคับกล่าวคือ วรรคสาม “ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูอาจมีระดับ ตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”
ซึ่งปัจจุบันตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีสองตำแหน่งคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และตำแหน่งครูที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีสองตำแหน่ง คือ ตำแหน่งครูผู้ช่วย และตำแหน่งครู ซึ่งทั้งตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และตำแหน่งครู สามารถมีวิทยฐานะตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้ามีการกำหนด ระดับ ตำแหน่ง ของผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครู ตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม อาจมีการกำหนดกรอบอัตรากำลังของ ระดับ ตำแหน่งของครู ในหน่วยงานการศึกษาว่าในแต่ละ ระดับ ตำแหน่ง จะมีได้ไม่เกินกี่คน เช่น ในหน่วยงานการศึกษานี้ จะมีตำแหน่งครู ระดับชำนาญการไม่เกินกี่คน ชำนาญการพิเศษไม่เกินกี่คน ระดับเชี่ยวชาญไม่เกินกี่คน ระดับเชี่ยวชาญพิเศษไม่เกินกี่คน
เหมือนกับที่กำหนดกรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา ๓๘ ค (๒) ในแต่ละเขตพื้นที่หารศึกษาในปัจจุบันนี้ หรืออาจจะกำหนดระยะเวลาการขอกำหนดระดับ ตำแหน่งให้สูงขึ้น ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมากกว่าเดิมในแต่ละระดับ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานกว่า ระบบวิทยฐานะที่ครูได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการจูงใจในการทำงานให้มีคุณภาพ เพราำต้องใช้หลักอาวุโส การครองตำแหน่งที่ใช้ระยะเวลานาน ไม่ส่งเสริมกระบวนพัฒนาคุณภาพของครูให้ Fast track เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
ส่วนผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษา อาจมีชื่อตำแหน่งเรียกเป็นอย่าง ตามความในวรรคท้ายของมาตรา ๔๑ ที่กฎหมายว่าด้วยการนั้น อาจกำหนดระดับ ตำแหน่ง ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามวรรคสาม โดยกำหนดระดับ ตำแหน่ง ตามขนาดของสถานศึกษา และเรียกชื่อตำแหน่งที่แตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียน เช่น
- โรงเรียนขนาดเล็กอาจเรียกชื่อว่า ครูใหญ่ หรืออย่างอื่น มีระดับหรือวิทยฐานะไม่เกินชำนาญการ
- โรงเรียนขนาดกลางอาจเรียกชื่อ อาจารย์ใหญ่ หรืออย่างอื่น มีระดับหรือวิทยฐานะไม่เกินชำนำญการพิเศษ
- โรงเรียนขนาดใหญ่อาจเรียกชื่อ ผู้อำนวยการ หรืออย่างอื่น มีระดับ หรือวิทยฐานะไม่เกินเชี่ยวชำญ
- โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษอาจเรียกชื่อ ผู้อำนวยการ หรืออย่างอื่น มีระดับ หรือวิทยฐานะเชี่ยวชาญ หรือเชี่ยวชำญพิเศษ
ความหมายผู้บริหารสถานศึกษาในมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัตินี้ หมายความว่า “ ครูซึ่งเป็นหัวหน้าในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีหน้าที่่และความรับผิดชอบในการบริหารสถานศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่เกี่ยวกับการจัดการในสถานศึกษาดังกล่าว ”
ในความหมายดังกล่าว มิได้ระบุชื่อตำแหน่งไว้ว่าชื่ออะไร จะต้องมากำหนดชื่อตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในมาตรา ๔๑ วรรคท้าย ซึ่งใน วรรคสาม และวรรคท้าย ของมาตรา ๔๑ เป็นการเขียนกฏหมายที่เอื้อต่อการกำหนดชื่อ ระดับตำแหน่ง ของผู้บริหารสถานศึกษาที่แตกต่างกัน
- ประเด็นลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ ๓ คือมาตรา ๑๐๗ที่ไม่กำหนดให้ครูที่ดำรงในตำแหน่งอยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ อื่นเช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ในวันก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และประโยชน์ตอบแทน
ในขณะที่ มาตรา ๑๐๘ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา มาตรา 109 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และมาตรา ๑๑๐ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่น เช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ในวันก่อนที่พระรำชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ประเด็นลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานที่ ๓ นี้ อาจส่งผลให้ตำแหน่งครูในปัจจุบันไม่ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่น เช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งเป็นข้อกังวลใจให้กับครูทั่วประเทศอย่างมาก ว่าเป็นเจตนาที่ร่างกฎหมายออกมาเพื่อไม่ให้ครูได้รับเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนในอัตราเดิมหรือไม่ หรือเป็นการหลงลืม ที่ไม่ร่างเหมือนกับมาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ และมาตรา ๑๑๐
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เครือข่ายองค์กรวิชำชีพครูไทย ( ค.อ.ท.) มีความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง ต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะมาตรา ๔๑ และมาตรา ๑๐๗ เป็นการออกกฏหมายที่ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานประโยชน์ที่เคยได้รับ เป็นการทำลายขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประกอบวิชำชีพครูอย่างรุนแรง จึงกราบเรียนมายังสมาชิกรัฐสภาทุกท่าน ในฐานที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ได้โปรดพิจารณาแก้ไขมาตรา ๔๑ และมาตรา ๑๐๗ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และไม่สร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นหลักประกันความก้าวหน้าของผู้ประกอบวิชาครู มิให้ถูกทำลายลงด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชำติฉบับนี้ โดยในมาตรา ๔๑ ให้ยกเลิก วรรคสอง วรรคสาม และวรรคท้าย ให้คงไว้เฉพาะวรรคแรก ดังนี้
“ให้ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ในหน่วยงานทางการศึกษา หรือสถานศึกษาของรัฐ ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นตามที่กฎหมายกำหนดว่าด้วยการนั้น”
และในมาตรา ๑๐๗ ให้บัญญัติเพิ่มเติมให้ครูที่ดำรงตำแหน่งในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่น เช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ( ค.อ.ท.) หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการพิจารณาแก้ไขตามข้อเรียกร้องในครั้งนี้
เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย (ค.อ.ท.)
๕ มกราคม ๒๕๖๖
ที่มา ; คมชัดลึกออนไลน์ 05 ม.ค. 2566
เกี่ยวข้องกัน
ข่าวเกี่ยวกัน
‘ตรีนุช’ วอน ส.ส.-ส.ว.ทบทวน 4 ประเด็นในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 9 มกราคม น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า วันที่ 10-11 มกราคมนี้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. … ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว จะเข้าสู่วาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และรัฐบาล เห็นว่ายังมีบางประเด็นอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ จึงอยากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พิจารณาในประเด็น 4 ประเด็น ดังนี้
- ประเด็น การจัดการศึกษาโดยผู้ปกครอง (Home School) ในมาตรา 13 ควรให้ ศธ.ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ประเมินผล ตามที่คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติกำหนด เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
- ประเด็นให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล ในมาตรา 20 ควรให้สถานศึกษาเฉพาะสังกัด ศธ.เป็นนิติบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาของรัฐในแต่ละสังกัด
- ประเด็นการสรรหาและคุณสมบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ในมาตรา 40 นั้น ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากเคยเป็นครูและรองผู้บริหารแล้ว ต้องมีความรู้เรื่องบริหารการศึกษา และให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดแนวทางการสรรหาและพัฒนาผู้บริหาร เพื่อให้ได้ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีศักยภาพและไม่ทำให้เกิดภาระแก่คณะกรรมการสถานศึกษาเกินสมควร และ
- ประเด็นให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาได้รับเงินวิทยฐานะ ควรกำหนดให้ชัดเจนในมาตรา 41 เพื่อมีความชัดเจนว่าบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เคยได้รับเงินวิทยฐานะอยู่แล้วในปัจจุบันยังคงได้เงินวิทยาฐานะเช่นเดิม
“ที่ผ่านมา ศธ.ได้มีความเห็นและแจ้งให้มีการทบทวนประเด็นต่างๆ ที่อาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติไปยังผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว ทั้งนี้ ศธ.และรัฐบาล ก็อยากเห็นกฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว เพราะพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการเรียนรู้และการปฏิรูปครู สามารถเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาไปในทางที่ดีขึ้นได้” รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าว
น.ส.ตรีนุชกล่าวด้วยว่า ในส่วนของโครงสร้างการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการระดับภูมิภาคนั้น คณะกรรมาธิการได้พิจารณาให้มีการคงอยู่ตามหลักการเดิมที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับของรัฐบาลเสนอไว้ พร้อมทั้งยืนยันว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะไม่กระทบต่อการทำงานในระดับภูมิภาคของ ศธ.อย่างแน่นอน
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 9 มกราคม 2566
ข่าวเกี่ยวกัน
เมื่อลูกกำลังจะถูกครอบ ด้วย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่
เมื่อวันที่ 9 มกราคม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง [ เมื่อลูกกำลังจะถูกครอบ ด้วย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ] โดยมีเนื้อหาดังนี้
“ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก Amazon เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 Google Search เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 Alibaba เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 Facebook เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 YouTube เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ระบบ Cloud Computing เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 iPhone รุ่นแรก เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 ระบบปฏิบัติการ Android เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของ Tesla วางขายในปี พ.ศ. 2551 ระบบ Blockchain เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 ธุรกรรม Bitcoin เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 LINE เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 Grab เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 Tinder เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 TikTok เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559
ถ้าเราย้อนเวลากลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน เราจะจินตนาการถึงสิ่งเหล่านี้ที่ได้จริงๆ หรือ โลกในปัจจุบันหมุนเร็วมาก เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก ทำให้วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพ ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและ ในอนาคตเวลาจะหมุนเร็วขึ้นอีก เทคโนโลยีจะเปลี่ยนเร็วขึ้นกว่านี้อีก
การศึกษา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคน จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เป็นการเรียนรู้เพื่อดักอนาคต ไม่ใช่เอาเรื่องที่รู้แล้วในอดีตมาสอนให้เด็กจำ
การศึกษาต้องไม่ใช่การเอาเรื่องราวทีก่ำลังล้าสมัย มายัดเยียดให้เด็กรู้ มาดูดเวลาเด็กให้หมดไปวันๆ แต่ต้องเป็นการเรียนรู้เฉพาะทักษะพื้นฐานที่จำเป็น แล้วเปิดโอกาสให้เด็กได้มีเวลาในการใช้ความรู้นั้น ในการค้นคว้าหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะด้วยตนเอง
การศึกษาต้องไม่ใช่ระบบในการใช้อำนาจนิยม และการปลูกฝังความเชื่อให้เด็กทุกคนคิดเหมือนๆ กัน เชื่อเหมือนๆ กัน และพร้อมทำตามที่สั่งเหมือนในยุคสงครามเย็น แต่ต้องเป็นระบบที่เด็กมีเสรีภาพในการคิดสร้างสรรค์ ฝึกการยับยั้งชั่งใจ และการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจด้วยตนเอง
การศึกษาต้องไม่ใช่เครื่องมือของผู้มีอำนาจที่ใช้ในการควบคุมพลเมือง แต่ต้องเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อให้คนแต่ละคน มีทักษะในการวิ่งตามความฝันที่ยิ่งใหญ่ของตนเอง
เศรษฐกิจของประเทศไทยในอดีต ที่เติบโตได้ในระดับที่สูงกว่า 5% ต่อปี นั้นเกิดจากอัตราการเกิดของประชากร แต่ปัจจุบันจำนวนการเกิดได้น้อยกว่าจำนวนการตายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่นับวันจะมีประชากรในวัยทำงานลดลงเรื่อยๆ การที่ประเทศจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมายืนในระดับ 5% ได้อีกครั้ง มีอยู่ทางเดียวก็คือ การพัฒนา Productivity และ Creativity ของคนในประเทศ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ และสอดรับกับยุคสมัย
ผมตกใจมากๆ เมื่อได้อ่านเนื้อหาของพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญของระบบการศึกษาของประเทศ ที่กำลังจะถูกพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 วันที่ 10-11 นี้ กลับมีเนื้อหาที่เป็นไปในทางตรงกันข้าม เป็นระบบล้าสมัย ที่มุ่งล้างสมองเด็กให้โตขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่พร้อมถูกบงการจากผู้มีอำนาจ เท่านั้น แทนที่โรงเรียนจะเป็นพื้นที่ที่เด็กรู้สึกปลอดภัยในการตั้งคำถาม และคิดสร้างสรรค์ โรงเรียนกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าการถูกกดขี่จากอำนาจนิยม เป็นเรื่องปกติที่ต้องยอมรับโดยไม่ต้องสงสัย
ไม่มีคำว่า “เสรีภาพในการเรียนรู้” ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้
ในมาตรา 8 แทนที่จะกำหนดให้หลักสูตร และการพัฒนาผู้เรียนมีความยืดหยุ่น ที่เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน กลับกำหนดเป้าหมายของผู้เรียนตามช่วงวัยแบบล็อคสเป๊ค คิดว่าเด็กทุกคนในวัยเดียวกัน ต้องเป็นเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึงพัฒนาการ และความสนใจที่แตกต่างหลากหลายของเด็กแต่ละคนเลย
ทุกคนต่างรู้ดีว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ นั้นเป็นตัวถ่วงความเจริญของประเทศ เป็นแค่แผนล้าสมัยของกลุ่มศักดินาที่ไม่เข้าใจ และหวาดกลัวต่ออนาคต พยายามจะวางกรอบขังประเทศให้อยู่กับอดีต และความเหลื่อมล้ำที่ตนเองได้เปรียบ แต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ ในมาตรา 80 กลับผูกตัวเองไว้กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ อย่างแนบแน่น
ที่เลวร้ายที่สุด ก็คือ มาตรา 88-96 ที่เป็นการยึดอำนาจทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มาที่ Super Board ที่เรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ” ซึ่งมีที่มาจากข้าราชการเป็นหลัก ไม่มีตัวแทนจากนักเรียน ครู หรือผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียสำคัญของระบบการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมเลย แต่กลับมีอำนาจบาตรใหญ่ ที่สามารถแทรกแซงการบริหารโรงเรียน และหลักสูตรการเรียนการสอนได้ แถมมติของคณะกรรมการนโยบายการศึกษา ยังมีผลผูกพันส่วนราชการในฐานะอีกด้วย นั่นหมายว่า ต่อให้มติของคณะกรรมการชุดนี้ จะโง่เขลาเข้ารกเข้าพงแค่ไหน จะอย่างไรก็ต้องทำตาม ถ้าไม่ทำตามก็อาจมีโทษตามกฎหมาย
ในฐานะของคนเป็นพ่อ ผมอยากจะเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน ช่วยกันติดตาม ในวันที่ 10-11 มกราคมนี้ แล่ะร่วมกันเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้ได้ โดยเฉพาะในมาตรา 8 มาตรา 80 และมาตรา 88-96 ถ้าปล่อยผ่านกฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลกระทบกับอนาคตของลูกอย่างมาก และเมื่อลูกเราโตขึ้นอย่างสูญเปล่า โดยที่เราไม่สามารถเรียกคืนเวลาที่สูญเสียของลูกกลับมาได้เลย ถึงเวลานั้นต่ออยากจะไปชี้หน้าด่าคนที่ผ่านกฎหมายฉบับนี้ ก็ทำไม่ได้ เพราะคนเหล่านั้นคงตายเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว ทำได้อย่างมาก ก็แค่เผาพริกเกลือ จุดธูปสาปแช่ง ให้ตายไปไม่ได้ผุดได้เกิด”
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 9 มกราคม 2566
ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…..