จำนวน คุณสมบัติ และการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

ก.ค.ศ.เห็นชอบ(ในหลักการและให้ปรับหรือแก้ไขรายละเอียด)หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการกำหนดจำนวน องค์ประกอบ การได้มา คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา สังเขป ดังนี้
1. องค์ประกอบของอนุกรรมการ จำนวน 11 คน (องค์คณะไตรภาคี) ประกอบด้วย
– ประธานอนุกรรมการ จำนวน 1 คน
– อนุกรรมการผู้แทน จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้แทน กศจ. นายอำเภอหรือผู้แทน และผู้แทน ก.ค.ศ.
– อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ด้าน ๆ ละ 1 คน ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย และด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคล
– อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 3 คน ได้แก่ ข้าราชการครู ผู้บริหาร สถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
– อนุกรรมการและเลขานุการ จำนวน 1 คน
ทั้งนี้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้อีก แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเดิมเกิน 2 วาระไม่ได้ ยกเว้น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งอนุกรรมการและเลขานุการ และอนุกรรมการคนหนึ่งจะเป็นอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
2. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ
– สัญชาติไทย
– วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
– อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
– ไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
– ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทำงจริยธรรม จรรยาบรรณ ไม่เคยกระทำผิดจนได้รับ โทษทางวินัย หรือกระทำผิดวินัยแต่ได้รับการงดโทษหรือไม่ได้รับโทษเพราะเหตุพ้นระยะเวลาการสั่งลงโทษ ตำมที่กฎหมายกำหนด
– ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตำมที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.
– ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลอาญาหรือศาลอาญาทุจริต หรือกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแม้ว่าจะได้รับการงดโทษหรือไม่ได้รับโทษ เพราะเหตุพ้นระยะเวลาการสั่งลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด
– ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
– ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
– ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
3. การได้มาของประธานและอนุกรรมการ
– ประธานอนุกรรมการ(1คน) ให้ สพฐ. และสำนักงาน ก.ค.ศ. เสนอชื่อบุคคลพร้อมประวัติ เขตพื้นที่การศึกษาละไม่เกิน 2 คน (รวมเป็น 4 คน) แล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณาคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คน
– อนุกรรมการผู้แทน (3คน) (ให้ปรับรายละเอียด)
– อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (3คน) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ กศจ. เสนอชื่อบุคคล ด้านละ 2 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา (รวมเป็น 4 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา) ส่งไปยัง สพฐ. เพื่อตรวจสอบจากนั้นเสนอ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจที่ ก.ค.ศ. ตั้ง คัดเลือกให้เหลือด้านละ 1 คน ต่อ 1 เขตพื้นที่การศึกษา
– อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (3 คน) ให้ตนเองหรือผู้บังคับบัญชาเสนอชื่อ(ให้ปรับรายละเอียด)
4. กำหนดการให้ได้มาของประธานและอนุกรรมการ
– 22 พ.ย. 2565 – 7 ธ.ค. 2565 (15 วัน) สำนักงาน ก.ค.ศ. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการฯ
– 8 ธ.ค. 2565 – 6 ม.ค. 2566 (30 วัน) เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งตรวจสอบ และวินิจฉัยคุณสมบัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ
– ภายใน10 ม.ค. 2566 ส่งรายชื่อถึงสำนักงาน ก.ค.ศ.
– วันที่ 11 – 20 ม.ค. 2566 (10 วัน) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจคัดเลือกให้เหลือเขตพื้นที่ละ 1 คน
– ภายในวันที่ 31 ม.ค. 2566 เสนอ ก.ค.ศ. แต่งตั้ง
– ภายในวันที่ 6 ก.พ. 2566 แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ที่มา ; สำนักงาน ก.ค.ศ.

Leave a Reply