ความเคลื่อนไหวร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
– ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…..บางมาตราได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….(ข้อมูล ณ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ ยังไม่ครบทุกมาตรา)
– คาดว่าจะพิจารณาได้เสร็จทุกมาตรา จากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามลำดับต่อไป และคาดว่าจะเป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ในปี ๒๕๖๖
สาระสำคัญบางประการ
– ยกเลิกพรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับเดิม และคำสั่ง หน.คสช.ที่เกี่ยวกับการศึกษาทุกฉบับ
– ระบบการจัดการศึกษาดังนี้
(๑) การศึกษาเพื่อคุณวุฒิตามระดับ
(๒) การศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเอง
(๓) การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
– วัตถุประสงค์การจัดการศึกษา ; การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคคล ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา ความรู้ และคุณธรรม เป็นคนดี มีวินัย รู้จักสิทธิ ควบคู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบ ภูมิใจและตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก
– เป้าหมายการจัดการศึกษา ; แบ่งผู้เรียนและเป้าหมายผู้เรียน ๗ ช่วงวัยซึ่งเน้นแตกต่างกัน (ช่วงวัยหนึ่ง-ช่วงวัยเจ็ด) เช่น
(๔) ช่วงวัยที่สี่ อายุเกิน ๖-๑๒ ปี มีทักษะในการอ่าน เขียน และใช้ภาษาไทย มีความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในชีวิตประจำวัน มีความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
(๖) ช่วงวัยที่หก อายุเกิน ๑๕-๑๘ ปี กำหนดเป้าหมายมีความพร้อม ความรู้ หรือฝีมือ ในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพด้านใดด้านหนึ่งและเป้าหมายด้านการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะเน้นการเรียนการสอน เน้นตัวนักเรียน การพัฒนาเด็กจะสัมพันธ์กับหลักสูตรสมรรถนะผู้เรียน มีการกำหนดช่วงชั้นอายุที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนการสอน
– หน้าที่สถานศึกษาของรัฐจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานบนหลักการ ๑๒ ประการ
– กำหนดความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อความเป็นอิสระของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ ๔ ประการ
– กำหนดรายได้ ที่มารายได้ของสถานศึกษาของรัฐ
– ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากต้องเคยทำหน้าที่ครูและผ่านการเป็นรองผู้บริหารสถานศึกษา
– การสรรหาผู้บริหารสถานศึกษาทำโดยคณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการกลุ่มสถานศึกษา ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
– ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในสถานศึกษาของรัฐได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น
– บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง หรือค่าตอบแทนอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
– มีระบบการติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
– อื่นๆ คลิกอ่าน>>>>
หมายเหตุ ; ยังพิจารณาไม่ครบทุกมาตรา