21ก.ย.2565-นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่า หลังจากมีการยกเลิกคำสั่งคสช.19/2560 เมื่อ 15 ก.ย. 2565 ซึ่งจะต้องโอนอำนาจการบริหารงานบุคคลจาก กศจ. ไปยัง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา จึงกระทบต่อโครงสร้างของระบบ DPA ที่ออกแบบไว้ ซึ่งเดิม กศจ. เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติผลการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ แต่เมื่อ พรบ. ดังกล่าวประกาศใช้ อำนาจส่วนนี้ ดังนั้น ก.ค.ศ. จึงได้วางแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพม. และ สพป. สามารถดำเนินการในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะผ่านระบบ DPA ได้โดยไม่กระทบสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ระบบจะเปิดใช่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้ โดยแนวทาง โดยให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ส่วนราชการ และสถานศึกษาทั่วประเทศ เข้ามาลงทะเบียนผู้ดูแลระบบ DPA ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยเมื่อระบบ DPA เปิดใช้งานในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด สามารถส่งคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะเข้ามาในระบบ DPA ได้ตามปกติ ซึ่งทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะทำการส่งคำขอ และตรวจสอบคุณสมบัติตามที่ได้ออกแบบโครงสร้างการดำเนินการไว้
โดยระหว่างนี้ทีมพัฒนาระบบจะปรับปรุงระบบ DPA เพื่อให้รองรับอำนาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ และเมื่อมีการแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะสามารถดำเนินการต่อโดยโอนอำนาจจาก กศจ. ไปให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่พิจารณาอนุมัติและออกคำสั่งในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้เต็มรูปแบบ ทั้งนี้ กรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สอศ. กศน. สศศ. และ สป. สามารถดำเนินการตามระบบ DPA ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
นางสาวตรีนุช กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการลดระยะเวลาการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะสำหรับสายงานการสอน และสายงานบริหารสถานศึกษา โดยลดระยะเวลาตามเงื่อนไขคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ (ว 4/2564) เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ยากลำบาก ซึ่ง ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วในการกำหนดสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษตามหลักเกณฑ์นี้โดยให้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 สถานศึกษาที่ได้รับการประกาศเป็นสำนักงานในพื้นที่พิเศษตามประกาศกระทรวงการคลัง กลุ่ม 2 สถานศึกษาในพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา (เฉพาะพื้นที่อำเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ) และกลุ่ม 3 เหตุอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด คือ “สถานศึกษาที่มีความยากลำบากของการคมนาคมและมีความยุ่งยากในการบริหารจัดการศึกษา
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติ การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565จำนวนทั้งสิ้น 18,546 อัตรา ดังนี้สังกัดสำนักงานปลัด ศธ. จำนวน 141 อัตรา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 163 อัตรา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 2 อัตรา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 17,548 อัตราสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 692 อัตราทั้งนี้ ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) สงวนอัตราว่างจากโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่ได้รับการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 6 อัตรา จำนวน 4,576 อัตรา และจำนวน 228 อัตรา ตามลำดับเพื่อรองรับการบรรจุบุคคลตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามมติ ครม. และที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้เป็นไปตามข้อตกลงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับส่วนราชการนั้น ๆ
- รับชมย้อนหลังการประชุมชี้แจงการลงทะเบียนระบบ DPA ของสถานศึกษา (19 ก.ย. 65)
- เข้าสู่ระบบ DPA คลิก >>>>
ครูทั่วประเทศเตรียมพร้อมลงทะเบียน DPA ใน 30 ก.ย. นี้ และเริ่มยื่นคำขอมี+เลื่อนวิทยฐานะ 1ต.ค.
ที่มา ; ไทยโพสต์ 21 กันยายน 2565
แนวปฏิบัติการลงทะเบียนผู้ดูแลระบบของสถานศึกษาในระบบ DPA