“โครงการโรงเรียนคุณภาพ” ที่มา เป้าหมาย รูปแบบ ทิศทางพัฒนาและการขับเคลื่อน

1. โรงเรียนคุณภาพ ; ที่มา
-เป็นนโยบายรัฐบาลที่มุ่งหวังพัฒนาคุณภาพโรงเรียน (สพฐ.)
– ต่อยอดจากโรงเรียนคุณภาพของชุมชน ,มัธยมดีสี่มุมเมือง, Stand Alone
– และต่อยอดจากโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
2. โรงเรียนคุณภาพ ; กลุ่มประเภท
– โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา คือ โรงเรียนประถมศึกษาหรือโรงเรียนขยายโอกาส โดยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่มีความพร้อมและเหมาะสม มีโรงเรียนเครือข่ายโดยรอบสามารถนำนักเรียนมารวมเพื่อยกระดับคุณภาพให้เกิดความมั่นใจต่อชุมชนและผู้ปกครอง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และแชร์ทรัพยากรร่วมกัน
– โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา คือ โรงเรียนที่เปิดสอน ม.1-6 สภาพภูมิศาสตร์มีความพร้อมรองรับโรงเรียนประถมศึกษาที่จะมาเรียน และรับนักเรียนขยายโอกาสที่จะมาศึกษาต่อหรือมาเรียนรวม เป็นการแบ่งเบาภาระในการรับนักเรียนโรงเรียนแข่งขันสูงกลับสู่ชุมชน
– โรงเรียนคุณภาพเเบบ Stand Alone คือโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร พื้นที่สูง บนเกาะ หรือการคมนาคมไม่สะดวก ทำให้นักเรียนไม่สามารถไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่นได้
3. โรงเรียนคุณภาพ ; เป้าหมายปริมาณ
– รวมทั้งสิ้น 12,938 แห่ง (ประถม 10,480 ,มัธยม 1,155 และ Stand Alone 1,303 แห่ง
– โรงเรียนนำร่องระยะแรก ตั้งแต่ปีงบ 2564 ถึง 2568 เข้าร่วม 349 แห่ง (ประถม 183 ,มัธยม 77และภาพ Stand Alone 89 แห่ง) เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์
4. โรงเรียนคุณภาพ ; เป้าหมายผลผลิต
– จะต้องเพิ่มจำนวนครูให้ครบชั้น ครบวิชาเอก
– มีจำนวนนักเรียนที่เหมาะสม
– มีงบประมาณเพียงพอในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคลากรและชุมชน
– มีอาคารสถานที่ปลอดภัย มีครุภัณฑ์ อุปกรณ์ ระบบอินเตอร์เน็ต ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และทันสมัย
– เน้นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดเหลื่อมล้ำ ลดอัตราการแข่งขัน
– กรณีเป็นโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ต้องให้โรงเรียนสามารถดำรงอยู่ได้ โดยมีงบประมาณและอัตรากำลังครูอย่างเหมาะสม
5. โรงเรียนคุณภาพ ; เป้าหมายผลลัพธ์
– โรงเรียนต้นแบบแก้ปัญหาด้านการศึกษาและความปลอดภัย
– ลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสเข้าถึงการศึกษาให้กับนักเรียนทั้งในเมืองและชนบท
– สร้างความพร้อมให้โรงเรียนเพื่อจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามบริบท
– เป้าปลายทางเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ
6. โรงเรียนคุณภาพ ; จุดเน้นการพัฒนา
– ความปลอดภัยของผู้เรียน
– พัฒนาระบบประกันคุณภาพ
– พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
– การพัฒนาครู
– การเรียนการสอน Active Learning , STEM
– การวัดและประเมินผล
– การนิเทศกำกับและติดตาม และ
– Big Data
7. โรงเรียนคุณภาพ ; ทิศทางและการขับเคลื่อนระยะแรก (2565 เป็นต้นไป)
1) ทำโรงเรียนคุณภาพต้นแบบเป็นจังหวัดนำร่อง”สระแก้วโมเดล”
2) โรงเรียนนำร่องระยะแรก 349 แห่ง
– จัดทำ MOU ระหว่างโรงเรียนหลักร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย และระหว่าง สพท. กับโรงเรียนคุณภาพ รวมทั้งกำหนดแนวทางการรองรับนักเรียนเพื่อส่งต่อต่างระดับ
– จัดสรรงบลงทุน ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้
– จะคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพที่มีความแบบอย่างความสำเร็จพร้อมแต่ละจังหวัด
– จะจัดสร้างบ้านพักครูของโรงเรียนคุณภาพอำเภอละ 1 แห่ง เป็นชุมชนบ้านพักครู
– จะจัดทำแผนการสร้างชุมชนบ้านพักครูทั่วประเทศ
3) ขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพตามกรอบ MOU และจุดเน้นพัฒนา
สรุปจากบทความ ดร.กมล รอดคล้าย

Published by borworn

ดร.บวร เทศารินทร์

Leave a Reply

%d bloggers like this: