“พาน้องกลับมาเรียน” ทำไม ? และ อย่างไร ?
1. ทำไม ; กรอบแนวคิด Education for All เมื่อ 30 ปีที่แล้ว (ยูเนสโก ,ปฏิญญาจอมเทียน 2533)
– การศึกษาเป็นสิทธิอันพึงมีของประชากรโลก
– ขยายการดูแลเด็กปฐมวัยและขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง
2. ทำไม ; กรอบแนวคิด All for Education (ยูเนสโก ,ปัจจุบัน)
– ปฏิรูปการศึกษาลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความเสมอภาค
– ระดมทุกทรัพยากร, แชร์ทรัพยากรเพื่อการศึกษา
– จัดการศึกษาที่คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนให้มากขึ้น
– ร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อปฎิรูปการศึกษา
3. ทำไม ; หลักการ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leaving no one behind)
– สหประชาชาติ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDG) จะให้บรรลุผลปี 2573 มีเป้าหมาย 17 ประการ
– เป้าหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา คือ 4) การศึกษาที่มีคุณภาพ 10) ลดความไม่เท่าเทียม 17) การร่วมมือกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
– คนที่สำคัญที่จะต้องเข้าไปให้ถึงก่อนกลุ่มอื่นๆ คือ คนที่อยู่ข้างหลังที่สุด
– คนที่อยู่ข้างหลัง คือ กลุ่มยากจน ขาดโอกาส เปราะบาง หรือตกสำรวจ
– คนที่อยู่ด้านหลังทางการศึกษา คือ เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น และหลุดออกจากการศึกษา
4. ทำไม ; นโยบายการศึกษาไทย
– นโยบายรัฐบาล(พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) “จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
– นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) “การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย”
– นโยบายส่วนราชการ เช่น สพฐ. “การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาป้องกันการหลุดจากระบบ ช่วยเหลือเด็กตกหล่น ออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา”
5. อย่างไร ; โครงการ (การขับเคลื่อนนโยบาย)
– โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา ภายใต้แคมเปน “พาน้องกลับมาเรียน” แก้ปัญหาเชิงรุกเด็กตกหล่น เด็กหลุดออกจากระบบ เพื่อคืนโอกาส สร้างอนาคตให้เด็ก และแก้ปัญหาระยะยาวให้ประเทศ
– เปิดโครงการ วันที่ 17 มกราคม 2565 โดยทำ MOU ร่วมขับเคลื่อน14 กระทรวง และขับเคลื่อนโดย 11 ส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น
– สพฐ. ขับเคลื่อนด้วยการติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และจัดให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
– กศน.ขับเคลื่อนด้วยสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
6. อย่างไร ; ขับเคลื่อนโครงการ (สพฐ.)
1) สพฐ.จัดทำข้อมูลและทำแนวทางดำเนินงาน
– สำรวจ จัดทำ และส่งข้อมูลเด็กตกสำรวจเข้ารับการศึกษา (ตกหล่น) จากฐานข้อมูลของ สพฐ. เอง (DMC) และฐานข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
– จัดทำแนวทางการติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
– จัดทำฐานข้อมูล WEBSITE และ APPLICATION “พาน้องกลับมาเรียน “
– ส่งข้อมูลให้หน่วยปฏิบัติ (เช่น สพป. สพม. สศศ. สถานศึกษา)
2) หน่วยปฏิบัติ
– แต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงาน กำหนดบทบาท หน้าที่
– ประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจ ขั้นตอน แนวปฏิบัติ และกระบวนสร้างส่วนร่วม
– ตรวจสอบ วิเคราะห์ ข้อมูลเด็กตกหล่นจาก สพฐ. ส่งมา วางแผนติดตาม
– ลงทะเบียนผู้ใช้ฐานข้อมูลใน WEBSITE และ APPLICATION “พาน้องกลับมาเรียน “ เพื่อการตรวจสอบและรายงาน
– ส่งเสริม สนับสนุน ร่วม (สพท.) ออกติดตามเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันยังพื้นที่เป้าหมาย (สถานศึกษาร่วมกับเครือข่าย)
– หากสำรวจ พบ หรือ ไม่พบ ให้รายงานในฐานข้อมูล WEBSITE และ APPLICATION และรายงานเอกสาร
– หากสำรวจ พบ และไม่สามารถนำเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ ประสานดำเนินการ แก้ตามเหตุนั้นๆ ให้เข้าระบบการศึกษาระบบใดก็ได้ (เว้นแต่พ้นเกณฑ์บังคับ)
– หากสำรวจ พบ และสามารถนำเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ จัดระบบดูแลช่วยเหลือ ทำแผนป้องกันเด็กหลุดจากระบบ จัดการศึกษาโดยให้เรียนจนจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และรายงาน
7. อย่างไร ; เงื่อนไขความสำเร็จ
– ฐานข้อมูล กรอบคิด กลยุทธ์การดำเนินงาน
– ความตระหนัก รับผิดชอบ ของผู้ปฏิบัติ
– ความตระหนักรู้ผู้ปกครอง เกี่ยวกับอนาคตบุตรหลาน
– ความร่วมมือร่วมใจกันและลงมือทำอย่างเต็มที่
– ความต่อเนื่องนโยบายและการขับเคลื่อน
อ้างอิง
-เว็บไซต์รายงาน