Site icon ดร.บวร เทศารินทร์

นโยบายสู่การปฏิบัติในการแก้หนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. ที่มา
– ปี 2565 รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน
– หนึ่งในนโยบายคือ การแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการ โดยเฉพาะครูและตำรวจ
– ศธ. แก้ไขหน้ครูด้วยโครงการ “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”
2. ความคาดหวัง
– ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของครูให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
– ครูมีเงินใช้จ่ายและลดข้อกังวลถึงปัญหาในการดำเนินชีวิต
– สำคัญสุดคือ ครูจะได้ทุ่มเทให้การเรียนการสอน สร้างคุณภาพทางการศึกษา
3. เป้าหมาย
– กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูที่เป็นหนี้และลงทะเบียนแก้ไขหนี้สินในระบบของ ศธ.
– ภาระหนี้โดยรวมของครูน้อยลง
– ครูมีรายได้เหลือไม่น้อยกว่า 30 % ของเงินเดือนหลังการหักชำระหนี้แล้ว (ใช้หนี้70เหลือ30)
4. มาตรการและกลไกที่ใช้แก้ปัญหา
1) มาตรการเชิงนโยบาย
– การจัดตั้งสถานีแก้หนี้ครู
– การลดดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันเงินกู้ที่ครูเป็นหนี้
– การประสานธนาคารออมสินให้ชะลอการดำเนินคดีทางกฎหมายกับกลุ่มครู
– การให้ความรู้ด้านการเงินให้ครู
2) มาตรการสนับสนุน
– ประสานเพื่อวางระบบ โดยสามารถให้ครูนำเงินอนาคต (เช่น เงินบำเหน็จตกทอด เงินชพค. ) มาใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ หรือ ใช้ปรับโครงสร้างหนี้
3) กลไกการแก้ปัญหา
– คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส่วนกลาง) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการ หรือแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
– สถานีแก้หนี้ครู โดยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ทั้งระดับเขตพื้นที่และระดับจังหวัด
5.มิติของการแก้ปัญหาหนี้ครู
– การขอปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลง ให้สอดคล้องกับสินเชื่อสวัสดิการหักเงินเดือนที่ความเสี่ยงต่ำ
– ต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อไป refinance สินเชื่อดอกเบี้ยสูง เพื่อลดภาระ
– การขอปรับลดค่าธรรมเนียมประกันที่ไม่มีความจำเป็นให้ลดลง
– การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้เงินเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30% หรือ 9,000 บาท เพื่อใช้ดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี
– การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อเตรียมเกษียณอายุ หรือกรณีที่เกษียณแล้วมีภาระที่จะต้องจ่ายหนี้นานหลายปี
– การไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สินกรณีที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแล้ว ทั้งกรณีผู้กู้ และผู้ค้ำประกัน
6.วิธีแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม(เป็นไปได้สูง)
1) โจทย์การแก้ปัญหา
– จะลดภาระหนี้โดยรวมของครูให้น้อยลงอย่างไร เพื่อให้ครูที่เป็นหนี้และลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ มีรายได้เหลือไม่น้อยกว่า 30 % ของเงินเดือนหลังการหักชำระหนี้แล้ว
2) วิธีแก้ปัญหา
– ใช้การไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้ (เช่น ธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์ครู) กับครู เพื่อประนอมหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ หรือพักชำระหนี้ โดยมีสถานีแก้หนี้ (คณะกรรมการระดับเขตพื้นที่) ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ และครู ในเบื้องต้นก่อน หากไม่บรรลุผลก็ให้เป็นบทบาทหน้าที่ของกรรมการระดับจังหวัดดำเนินการต่อไป
3) กรณีศึกษาการร่วมมือแก้ปัญหา (สหกรณ์ออมทรัพย์ครูบางแห่ง)
– การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สมาชิก และ ลดดอกเบี้ยเงินฝากลง เพื่อมาช่วยเหลือสนับสนุนการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
– การปรับโครงสร้างหนี้ โดยการขยายงวดชำระหนี้ออกไป โดยงวดสุดท้ายต้องชำระก่อนอายุครบ 75 ปี
– การบริหารจัดการหนี้สหกรณ์และหนี้สถาบันการเงินอื่น โดยรวมหนี้สินมาไว้ที่สหกรณ์แห่งเดียว ทำให้ยอดเรียกเก็บรายเดือนลดลง และสมาชิกได้รับเงินเฉลี่ยคืนเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยที่เสียให้แต่ละที่ในแต่ละปี เมื่อมาเสียให้สหกรณ์ที่เดียวก็จะได้รับคืนกลับมาในรูปปันผลตอนสิ้นปี
– การพักชำระหนี้ให้แก่สมาชิก
7. ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ
– ความร่วมมือเจ้าหนี้เงินและครู
– ความเข้มข้นในภารกิจและบทบาทของสถานีแก้หนี้ครู
– ปัจจัยสำคัญสุดๆ คือ ครูมีวินัยทางการเงิน วางแผนบริหารจัดการหนี้ตนเอง
#ข้อมูลอ้าง
– เว็บไซต์ลงทะเบียน(ภายใน 15 มีนาคม) https://td.moe.go.th
– แนวทางแก้ไขหนี้สินครู
Exit mobile version