การระบุสิทธิ์ผู้รับผลประโยชน์ในเงิน ช.พ.ค. และ ช.พ.ส. ของสมาชิก ช.พ.ค. และ ช.พ.ส.

1. ท่านระบุสิทธิ์ให้ใครรับเงิน ช.พ.ค. หรือ ยัง?
– สมาชิก ช.พ.ค. ไม่ระบุชื่อภรรยา สามี บุตร บิดา มารดา เพื่อรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวก็ได้
– สมาชิก ช.พ.ค. ระบุชื่อญาติในฐานะผู้อุปการะ เพื่อรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวก็ได้
– สมาชิก ช.พ.ค. ระบุชื่อบุคคลอื่นในฐานะผู้อยู่ในอุปการะเพื่อรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวก็ได้
– ไปตรวจสอบ(หากลืม) ระบุสิทธิ์หรือเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิ์ได้ที่สำนักงาน สกสค.จังหวัด
2. ช.พ.ค. คืออะไร
– ช.พ.ค. คือ การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา
– ช.พ.ค. ตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายเพื่อเป็นการกุศลช่วยเหลือกันในการจัดงานศพหรือสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิก ช.พ.ค. ที่เสียชีวิต เงินดังกล่าวไม่ใช่มรดก เป็นสิทธิสมาชิกจะระบุให้ใครรับก็ได้
– ครูส่วนมากจะสมัครเป็นสมาชิก ช.พ.ค. เป็นเสิทธิ์ที่จะไม่สมัครก็ได้
– หากไม่ชำระค่าสงเคราะห์ศพรายเดือน(เกิน 3 เดือน) อาจขาดจากสมาชิกได้
3. เมื่อสมาชิกเสียชีวิต จะมีเงิน ช.พ.ค. ประกอบไปด้วย 2 ส่วน
– เงินค่าจัดการศพ (จ่ายให้ผู้จัดงานศพ ไม่เกินสองแสนบาท) หากไม่ขอเงินส่วนนี้จะไปรวมเป็นเงินสงเคราะห์ครอบครัว
– เงินสงเคราะห์ครอบครัว (จ่ายให้ผู้มีสิทธิ์ประมาณเจ็ดแสนบาทเศษ หากสมาชิกเป็นหนี้ เช่น เงินกู้ ช.พ.ค. จะถูกหักก่อน ค่อยจ่ายที่เหลือให้ผู้มีสิทธิ์)
4. สมาชิก ช.พ.ค. ระบุใครได้บ้างเพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว (ต่อ สกสค.)
– การระบุผู้มีสิทธิ์เป็นสิทธิส่วนบุคคลและเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
– ระบุบุคคลในครอบครัวได้ตามลำดับ
-ลำดับ 1 ระบุคู่สมรส บุตร บิดา มารดา
-ลำดับ 2 ระบุผู้อยู่ในอุปการะสมาชิกอย่างบุตร
-ลำดับ 3. ระบุผู้อุปการะสมาชิก
– ในแต่ละลำดับจะระบุคนใดคนหนึ่งหรือหลายคน (ถ้ามี) หรือไม่ระบุก็ได้
– สามารถเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิ์จากคนเดิมที่ระบุไว้ก็ได้
– บุคคลอื่นไม่สามารถขอดูข้อมูลการระบุสิทธิ์ได้ (ยกเว้นเสียชีวิตทายาทขอดูได้)
5. ใครเป็นผู้มีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว (สกสค.จ่าย)
– จ่ายให้ผู้ที่ถูกระบุสิทธิ์ในลำดับ 1 ก่อน (ลำดับ2,3 จะไม่ได้)
– หากไม่ระบุสิทธิ์ในลำดับ 1 จ่ายให้ผู้ที่ระบุสิทธิ์ในลำดับ 2 (ลำดับ3 จะไม่ได้)
– หากไม่ระบุสิทธิ์ในลำดับ 1,2 จ่ายให้ผู้ที่ระบุสิทธิ์ในลำดับ 3
– ในแต่ละลำดับหากระบุหลายคนให้ได้คนละเท่าๆ กัน
– หากไม่ระบุใด ๆ เลยให้จ่ายให้ลำดับ 1 คู่สมรส บุตร บิดา มารดา (ถึงแม้ไม่ได้ระบุสิทธิ์ก็ตาม) หากหลายคนจะได้ตามสัดส่วนกฎหมายกำหนด ไม่ได้เท่ากัน
ข้อมูลอ้างอิง
ระเบียบและประกาศ สกสค.เกี่ยวกับ ช.พ.ค.

Published by borworn

ดร.บวร เทศารินทร์

Leave a Reply

%d bloggers like this: