1.ไม้พะยุงเป็นที่ราชพัสดุ
-โรงเรียน (สพฐ.) ส่วนใหญ่ตั้งในที่ราชพัสดุ
-ที่ราชพัสดุมีธนารักษ์เป็นเจ้าของ โรงเรียน เป็นผู้ดูแล ใช้ประโยชน์ฯ
– ไม้พยุงที่เกิดในโรงเรียนจึงเป็นที่ราชพัสดุ เหมือนเช่น อาคารเรียน อาคารประกอบ สิ่งก่อสร้างอื่นๆ
2.ไม้พะยุงไม่ใช้ไม้หวงห้าม
– เดิมไม้พยุงเป็นไม้หวงห้าม จะทำอะไรต้องเป็นไปตามกฎหมายป่าไม้ด้วย
-ปัจจุบันไม้พยุงเป็นไม้ธรรมดาทั่วไป จะทำอะไรต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ราชพัสดุุ(หากขึ้นในที่ราชพัสดุ)
3.ไม้พะยุงโรงเรียนถูกลักลอบตัด
– โรงเรียน (ผู้ดูแล) ต้องเข้าแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายหาผู้รับผิดชอบ
– ซากเหลือเล็กน้อยสามารถทำประโยชน์ ทำเรื่องขอใช้ประโยชน์
– เหลือทั้งต้น (ตัดแล้วเอาไปไม่ได้) เหลือบางส่วน (เอาไปไม่ทัน) จะต้องทำเรื่องจำหน่วยหรือใช้ประโยชน์ตามระเบียบพัสดุ
4. ไม้พยุงโรงเรียนหากจำเป็นต้องตัด
– ทำเรื่องขอรื้อถอนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างในที่ราชพัสดุ
– เหตุต้องเพราะจะสร้างอาคาร สถานที่ กีดขวาง อาจโค่นล้มอันตราย
– ประชาคม ทำเรื่องรื้อถอน ใช้ประโยชน์ เหมือนอาคารเก่า
– การจำหน่ายต้นไม้ในที่ราชพัสดุให้ดำเนินการระเบียบพัสดุ
– หากจำหน่ายขายทอดตลาด นำเป็นเงินรายได้แผ่นดิน
5. อำนาจกฎหมายพัสดุและที่ราชพัสดุ
– ที่ราชพัสดุมีธนารักษ์(กระทรวงการคลัง)เป็นเจ้าของ โรงเรียน หน่วยงาน สพฐ. เป็นผู้ดูแล ใช้ประโยชน์ฯ
-คำสั่ง สพฐ. (16 มี.ค.2564) มอบอำนาจให้ ผอ.เขตฯ ปฏิบัติราชการแทนเลขา กพฐ. เกี่ยกับการใช้ที่ราชพัสดุของสถานศึกษาในสังกัดฯ
กฎหมายอ้างอิง