ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์และจะมีประชากรจะลดลง

1. สังคมสูงวัย หมายถึง สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุ หรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง
2. รูปแบบของสังคมสูงวัย
United Nations World Population Ageing ได้กำหนดสังคมสูงวัย 2 รูปแบบ
– สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป
– สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ขึ้นไป
3.ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
– ปัจจุบัน (31ธันวาคม 2564) ไทยมีประชากรตามทะเบียนราษฎรจำนวน 66,171,439 คน (66 ล้านเศษ)
– มีอัตราการเกิดลดลงมาก โดยมีเด็กเกิดใหม่ 544,570 คน ซึ่งต่ำที่สุดเป็นประวัติศาสตร์
– ขณะที่มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็น 12,116,199 คน (12 ล้านเศษ) สัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 18.3 ของประชากรทั้งหมด โดยจังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี ตามลำดับ
– สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ปี 2583 สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ จะมีถึงร้อยละ 31 ของประชากรทั้งหมด และโดยอายุเฉลี่ยแล้ว คนไทยจะมีอายุสูงขึ้นเป็น 85 ปี
– คาดการณ์ว่าภายในปี 2643 ประชากรไทยจะมีจำนวนลดลง เหลือเพียง 35 ล้านคน (งานวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันของสหรัฐอเมริกา ในวารสาร The Lancet)
นั่นหมายความว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว และจะมีประชากรจะลดลง
4. เหตุใดคนอายุยืนมากขึ้น (ปัจจัยสี่ดีขึ้น)
– วิทยาการ เทคโนโลยีทางการแพทย์
– ยา เวชภัณฑ์
– ความรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาพ
5. เหตุใดคนเกิดน้อยลง (ค่านิยม วัฒนธรรมเปลี่ยนไป)
– คนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง หรือเลือกจะมีชีวิตโสดมากขึ้น
– คนรุ่นใหม่มีลูกน้อยลง หรือ เลือกที่จะไม่มีลูก
– ต้นทุน(ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ)ในการมีลูกจนโตหรือจนลูกมีงานทำสูง
– ต้องการใช้ชีวิตของตัวเองอย่างเต็มที่
– รู้สึกการมีลูกอาจหมายถึงความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่เกินไป หรืออาจ
– มองไม่เห็นอนาคตที่ดีของคนรุ่นใหม่ เขาไม่เชื่อมั่น ไม่มีความหวัง
6.ผลกระทบของสังคมสูงอายุ เช่น
– คนจะลดลง อะไรที่เตรียมรองรับคนจำนวนมากไว้ จะไม่เป็นเช่นนั้น สูญเปล่า เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัยธุรกิจร้านค้า อุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ
– วัยทำงานจะลดลง (คนทำงานจะน้อยกว่าคนเกษียณอายุ) ฐานรายได้และฐานภาษีที่เก็บได้ก็จะลดลง
– ขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานฝีมือ (หากแรงงานไม่ได้รับการพัฒนา)
– คนที่อยู่ในวัยพึ่งพิงจะเพิ่มมากขึ้น (ปัจจุบันผู้สูงอายุ 1 คน จะถูกดูแลจากประชากรวัยแรงงาน 1.8 คน)
– ปัญหาด้านการเงิน(ออมน้อย เงินเก็บหมด) สุขภาพกาย(โรคผู้สูงอายุ ) สุขภาพจิตผู้สูงอายุ (เหงา ซึมเศร้า ถูกโดดเดี่ยว ทอดทิ้ง)
– ปัญหาทางกาย จิตใจ ของผู้สูงอายุจะมีมากขึ้น
– ภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข การแพทย์ บริการสังคมแก่ผู้สูงอายุมากขึ้นและต้องเพิ่มงบประมาณรายจ่ายเพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้
– สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบทางลบต่อสังคม เศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศ
7. วิธีรับมือและแนวทางแก้ไข เช่น
– เพิ่มจำนวนประชากรเกิดใหม่ โดย การส่งเสริมการเกิดผ่านมาตรการจูงใจทางภาษี สนับสนุนให้มีบุตรโดยรัฐดูแลค่าใช้จ่ายในการคลอดและสงเคราะห์บุตร ให้ทุนการศึกษา ให้สิทธิการเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับเงินเดือนทั้งพ่อและแม่
– วางระบบออกแบบเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต กำหนดแนวทาง มาตรการเพื่อให้ประชากรใช้ชีวิตในยามสูงวัยอย่างมีอัตภาพและคุณภาพ
-การส่งเสริมทักษะ หางานทำ สร้างรายได้ผู้สูงอายุ เช่น พัฒนาอาชีพเสริม สนับสนุนให้บริษัทจ้างงานผู้สูงอายุ
– ปรับระบบงาน เช่น จัดการแผนค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ การขยายอายุเกษียณ การลงทุนและการออม
– อื่นๆ
ข้อมูลจาก ; สภาพัฒน์, สำนักทะเบียนราษฏร์ กรมการปกครอง กรมกิจการผู้สูงอายุ

Published by borworn

ดร.บวร เทศารินทร์

Leave a Reply

%d bloggers like this: