หัวใจสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ

 

ก.ค.ศ. ได้นำผลการสังเคราะห์ความคิดเห็นจากนักวิชาการและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา แล้วพบว่า

หัวใจสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่

1. Back to school  คุณภาพการศึกษาต้องเริ่มที่ห้องเรียน  การปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ทุกสายงาน ต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน มีการทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกัน คือ ยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียน

2 Focus on classroom การประเมินให้ดูที่ผลการปฏิบัติงานของครูในห้องเรียนดูที่สมรรถนะ  ในการปฏิบัติงานจริงของครู (Teacher performance) แผนการจัดการเรียนรู้ (Powerful Pedagogies) และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Students Outcomes)

3 Teacher as a key of success ครูเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การศึกษาประสบความสำเร็จ ครูต้องมีการพัฒนาให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงขึ้น ตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและ วิทยฐานะ ได้แก่

3.1 ปฏิบัติและเรียนรู้ (Execute and Learn) โดยผู้ที่เริ่มบรรจุเป็นครูผู้ช่วยต้อง สามารถจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ในเนื้อหาและ สมรรถนะวิชาชีพครู ในระหว่างที่มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม

3.2 ปรับประยุกต์ (Apply and Adapt) สามารถปรับประยุกต์ความรู้และศาสตร์ การสอนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและความแตกต่างของผู้เรียน

3.3 แก้ไขปัญหา (Solve the Problem) รับรู้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาในการจัดการ เรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3.4 ริเริ่ม พัฒนา (Originate and Improve) สามารถปรับปรุงพัฒนางานให้ดีกว่าเดิมได้ สอนให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิด

3.5 คิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent and Transform) สามารถสร้างสรรค์สื่อ นวัตกรรม และ เทคโนโลยี เพื่อยกระดับการทำงานในห้องเรียนให้ดีขึ้นได้ สอนให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

3.6 สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create an Impact) สามารถสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้น นอกเหนือจากห้องเรียน สามารถสอนให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้

4 School as an Organization การจัดระบบการบริหารการจัดการในสถานศึกษาต้องมุ่งเน้นงานหลักของครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา

 4.1 ลดความซ้ำซ้อน การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนกับการให้มีหรือ เลื่อนวิทยฐานะ (มาตรา 54) และการคงวิทยฐานะ (มาตรา 55) เป็นเรื่องเดียวกัน (ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน)

4.2 School Professional Community การจัดทำ PLC เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร สถานศึกษาที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดของผู้อำนวยการสถานศึกษาด้วย

4.3 Support System ควรเป็นระบบ Online System เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์ม การพัฒนาต่าง ๆ ครูต้องได้รับการพัฒนาตรงตามความต้องการจำเป็นอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

ซึ่งหลักการเหล่านี้ นอกจากจะนำไปสู่การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษามาสู่เกณฑ์ PA แล้ว ยังเป็นกรอบในการกำหนด กลยุทธ์ แนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยสนับสนุนและหน่วยปฏิบัติคือสถานศึกษา อันจะนำมาซึ่งคุณภาพผู้เรียนในที่สุด

ที่มา ; สำนักงาน ก.ค.ศ.

Leave a Reply