วิทยฐานะแบบ PA ไม่ควรรายงานขอซ้ำซ้อน อยากรู้ไปดูเอา สมรรถนะอยู่ที่ตัวนักเรียน ไม่ใช่รายงานกระดาษ
เมื่อใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะแล้ว โรงเรียนต้องเป็น SBM และประเมินสมรรถนะที่ตัวนักเรียน กระบวนการขอเลื่อนวิทยฐานะแบบ Performance Agreement (PA) จึงจบสิ้นลงแล้วที่โรงเรียน
ดังนั้น ครูผู้ทำวิทยฐานะแบบ PA จึงไม่จำเป็นต้องส่งรายงานขึ้นไปยังหน่วยเหนือของโรงเรียนอีก มีรายงานของสถานศึกษาฉบับเดียว ก็จะลดภาระของครู ไปเพิ่มเวลาให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว
ผู้ประเมินมีหน้าที่ตรวจสอบสมรรถนะที่ตัวนักเรียน ตามวัตถุประสงค์,มาตรฐาน,จุดเน้น และตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ในการขอเลื่อนวิทยฐานะแบบ PA ตามรายงานของสถานศึกษา
ขอย้ำเรื่องวัตถุประสงค์ทั่วไปในการประเมินผลทางการศึกษาให้เข้าใจตรงกัน ดังนี้
ขั้นตอนแรกในกระบวนการประเมินผลแบบฐานสมรรถนะ คือ การกำหนดสิ่งที่ต้องประเมิน กล่าวคือ กำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาฐานสมรรถนะ, มาตรฐาน,จุดเน้น และตัวชี้วัด เพื่อพัฒนาสมรรถนะ และทักษะชนิดใดของผู้เรียน
ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ Competency Based Curriculum จำเป็นต้องประกอบด้วยหลักสูตรย่อย ๆ 3 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรแกนกลาง Core Courses ซึ่งใช้ร่วมกันทั้งประเทศ
2. หลักสูตรท้องถิ่น Local Course เพื่อพัฒนาท้องถิ่น และสร้างการอาชีพในท้องุถิ่นของตน
3. หลักสูตรวิชาเลือก Elective Courses เพื่อยึดเป็นวิชาชีพ หรือเพื่อการศึกษาต่อ
สมรรถนะนของนักเรียน จะแสดงออกทางพฤติกรรม ที่เป็น “สมรรถนะประจำตน” คือ ความรู้, ความเข้าใจ,ทักษะ, การประยุกต์ใช้, ทัศนคติ, ความสนใจ,ใส่ใจในการดำเนินชีวิตตามทำนองคลองธรรม เป็นคุณค่าต่อทั้งตนเอง และสังคม คือ คิดเป็น(มีวิจารณญาณ Critical thinking), ทำเป็น(มีทักษะทั้งด้านวิชาการ และการอาชีพ Skill), เรียนรู้เป็น(เรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for life), และ แก้ปัญหาเป็น(Problem solving)..
เมื่อโรงเรียนใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ และ ได้บริหารจัดการตนเองตามกฏหมานแล้ว..อำนาจการตัดสินใจประเมินผ่านหรือไม่ผ่าน “ในการเลือนวิทยฐานะ จึงอยู่ที่โรงเรียน” โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา และในแง่การปฏิบัติควรได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม “หัวหน้างาน, และหัวหน้ากลุ่มสาระต่างๆของโรงเรียน, และคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ขอประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะตนเอง จึงไม่ต้องทำรายงานส่งหลักฐาน “ซ้ำซ้อน” ไปขออนุมัติหน่วยเหนือของสถานศึกษาอีก
หน้าที่ของผู้ประเมิน ควรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยของการพัฒนาการศึกษาให้ทันโลก, เชื่อใจ และมั่นใจในวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง
ผู้ประเมิน (ศึกษานิเทศก์, และผู้ได้รับการแต่งตั้ง) จะช่วยให้ข้อมูลสำหรับการวิจัยแก่ครู เพื่อเป็นข้อมูล “สร้างสมมุติฐาน” รองรับการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และครูเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
ทำการประเมิน “ที่ตัวนักเรียน” ไม่ใช่เอกสาร เป็นการขจัดข้อสงสัยในคุณภาพเชิงสมรรถนะแบบองค์รวมของนักเรียน และเพื่อการวิจัยเพิ่มเติม
ผู้ประเมิน จะช่วยแก้ปัญหาเชิงระบบ,ส่งเสริม,และอำนวยความสะดวกแก่โรงเรียน,ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในการดำเนินการแบบ SBM (School Based Management หรือ โรงเรียนเป็นฐานบริหารจัดการตนเอง) จึงจะใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุทัศน์ เอกา
ที่มา ; FB สุทัศน์ เอกา