ก.ค.ศ.กำหนดเงื่อนไขdการลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งหรือการดำรงวิทยฐานะของผู้ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการสอน สายบริหารสถานศึกษาและสายการนิเทศการศึกษา ไว้ 3 ประการ
(ในกรณีเกิดสิทธิ์มากกว่า 1 เงื่อนไข ให้เลือกใช้เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง) คือ
1. เป็นผู้มีความสามารถภาษาต่างประเทศ
2. เป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ(ยากลำบาก เสี่ยงต่อความมั่นคงประเทศ) มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
– สายนิเทศการศึกษาไม่ได้สิทธิตามข้อนี้
3. เป็นผู้พัฒนาตนเองต่อเนื่องโดยได้รับคุณวุฒิที่สูงขึ้นปริญญาโทและปริญญาเอก
– เฉพาะครูต้องเรียนสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และไม่ใช่สาขาบริหารจัดการสถานศึกษา
– สายบริหารสถานศึกษาและนิเทศการศึกษาต้องเรียนสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หรือสาขาบริหารจัดการสถานศึกษา
– หากเคยใช้คุณวุฒิในการลดระยะเวลาขอวิทยฐานะไปแล้วไม่ให้ใช้ซ้ำในคุณวุฒิเดิมอีก
4. เป็นผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพชั้น 8 (กรณีครูอาชีวะหรือ ก.ศ.น.)
– สายนิเทศการศึกษาไม่ได้สิทธิตามข้อนี้
หมายเหตุ เงื่อนไขดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะได้ใช้สิทธิการนับระยะเวลาทวีคูณไปแล้ว

กรณีเงื่อนไขเป็นผู้มีความสามารถภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีระดับความสามารถตามเงื่อนไขของหลักเกณฑ์ฯที่กำหนดก็สามารถนำมาลดระยะเวลาในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะในกรณีเงื่อนไขเป็นผู้มีความสามารถภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)นั้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
หลักการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยสรุป
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ได้ถึงระดับคาดหวัง ตามบทบาท ตำแหน่ง หน้าที่
หลักสูตรอบรมอิงกรอบมาตรฐาน การวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) โดยการเข้าอบรม ณ ศูนย์ HCEC จังหวัด หรือที่ สพฐ.กำหนด
ระดับความสามารถ ทางภาษาอังกฤษตามหลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
– Beginner (A1, A2)
– Intermediate (B1, B2)
– Advanced (C1,C2)
ระดับการพัฒนา
– ระดับพัฒนา A1 -> A2 -> B1 -> B2 -> C1-> C2
– จากระดับ A1 -> A2
– จากระดับ A2 -> B1
– จากระดับ B1 -> B2
– จากระดับ B2 -> C1
– จากระดับ C1 -> C2
ระดับคาดหวัง (ที่เป็นเป้าหมาย) ตามที่ สพฐ. กำหนด
A2เป็นต้นไป สำหรับครูผู้สอนวิชาอื่น ๆ และบุคลากรทางการศึกษา
B1เป็นต้นไป สำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา
-หากผ่านหลักสูตรเพิ่มเติมฯ สามารถเข้าสอนในหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ EP/MEP/IEP ระดับประถมศึกษา
B2เป็นต้นไป สำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา
– หากผ่านหลักสูตรด้านการสอนเพิ่มเติมฯสามารถเข้าสอนในหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ EP/MEP/IEP ระดับมัธยมศึกษา
– ใช้ลดระยะเวลาในการขอเลื่อนวิทยฐานะ(สำหรับสายงานบริหาร สายงานนิเทศ และสายครูอื่นที่ไม่สอนภาษาอังกฤษ)
C1เป็นต้นไป สำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
– หากผ่านหลักสูตรด้านการสอนเพิ่มเติมฯสามารถเข้าสอนในหลักสูตรห้องเรียนหลักสูตรนานาชาติ (IP) (ทั้งระดับประถมและมัธยมศึกษา)
– เป็นวิทยากรด้านภาษาอังกฤษได้
– ใช้ลดระยะเวลาในการขอเลื่อนวิทยฐานะ(สำหรับสายงานการสอน ครูที่่สอนภาษาอังกฤษ)
ที่มา ; สำนักงาน ก.ค.ศ.