Site icon ดร.บวร เทศารินทร์

วิทยฐานะเกณฑ์พัฒนางานตามข้อตกลง(PA) ; ประหยัด รวดเร็ว ไม่ต้องไล่ล่าเพื่อหาโล่หรือรางวัล

หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งสายงาน ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ.๐๒๐๖.๓/ ว ๙,๑๐,๑๑.๑๒ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ต้องการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนางานตามบทบาทหน้าที่หลักอยู่ที่หน้างานของตนเอง ไม่ให้เสียสมาธิหรือเวลาไปกับภาะงานอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ ประหยัด ลดภาระค่าใช้จ่ายหรือเวลาในการที่ต้องจัดทำแฟ้มเอกสาร รวมหลักฐานสำหรับรับการประเมิน มีความรวดเร็วเพราะนำระบบการประเมินด้วยระบบดิจิทัลมาใช้  และที่สำคัญหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไม่สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไล่ล่าหารางวัล โล่ หรือเกียรติบัตร จากการที่ต้องสมัครหรือถูกเลือกเป็นตัวแทนให้เข้าประกวด หรือประเมินในโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ  กล่าวคือ

 

ก. การประเมินจะสอดคล้องกันและการประมินครั้งเดียวนำผลไปใช้ได้หลายอย่าง ได้แก่

๑. การประเมินผลการพัฒนางานสอดคล้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

   หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว (ขณะนี้ยังเป็นร่าง คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้) มีแนวทางการประเมินที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (การประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง) นี้ โดยในหลักเกณฑ์กำหนดให้มีการประเมิน ๓ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ ๑ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง (๘๐ คะแนน) แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ ระดับความสำเร็จในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง (๖๐ คะแนน) ตอนที่ ๒ ระดับความสำเร็จในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทาย (๒๐ คะแนน) องค์ประกอบที่ ๒ การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา (๑๐ คะแนน) และองค์ประกอบที่ ๓ การประเมินการปฏิบัติตนในรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ (๑๐ คะแนน)

ในการประเมินประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ ๑ (รอบเดือนเมษายน) กำหนดให้ผู้บังคับบัญชากำหนดขอบเขตของผลการปฏิบัติงานที่คาดหวังให้สอดคล้องกับข้อตกลงในการพัฒนางานด้วย ส่วนการประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ ๒ (รอบเดือนตุลาคม)  ในองค์ประกอบที่ ๑ ให้ผู้บังคับบัญชานำผลการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาใช้ประกอบการพิจารณาประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานได้ และในกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้มีประเมินตามสภาพการปฏิบัติงานจริงของผู้รับการประเมินตามข้อตกลงที่กำหนดไว้

 

๒. ผลของการประเมินตามข้อตกลงพัฒนางานนำไปใช้ในการบริหารบุคคลหลายอย่าง

การนำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงไปใช้ในการบริหารบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งสายงาน ดังนี้

                     ๑. ใช้เป็นคุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งสายงาน

                     ๒. ใช้เป็นผลการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งสายงาน เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง (คงวิทยฐานะ)

                     ๓. ใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

ดังนั้นจะเห็นว่า ระบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะใหม่นี้ มีการออกแบบระบบและวิธีการประเมินที่เป็นการส่งเสริมการทำงานให้สอดคล้องร้อยรัดกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน การประเมินในครั้งเดียวกัน แต่สามารถนำผลการประเมินดังนั้นไปใช้ในการบริหารงานบุคคลหลายอย่าง ทำให้ลดจำนวนครั้งการประเมินลง ทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการประเมินทั้งสำหรับผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน และที่สำคัญเป็นการประเมินตามสภาพจริงที่เกิดขึ้นตามข้อตกลงที่กำหนด ผู้รับการประเมินจึงไม่มีความจำเป็นต้องแสวงหา สะสม โล่ รางวัล เกียรติบัตร หรือผลงานอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมิน

 

ข.กำหนดให้มีการประเมินด้วยระบบดิจิทัล (Digital Performance Appraisal ; DPA) มาใช้

ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะตามข้อตกลงพัฒนางานที่ ก.ค.ศ. พัฒนาขึ้นนี้ เป็นระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบออนไลน์ โดยใช้ระบบดิจิทัลในการส่งผ่าน จัดการและประมวลผลข้อมูล การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงพัฒนา รวมทั้งหลักฐานประกอบการพิจารณาเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ดังนี้

 

๑. การใช้ระบบ DPA ในขั้นตอนการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง ได้แก่

          ๑.๑ ในขั้นตอนการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน เมื่อคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงของผู้รับการประเมินในแต่ละรอบการประเมิน ให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับผิดชอบระบบ DPA และให้ผู้รับผิดชอบระบบ DPA นำข้อมูลผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงในแต่ละรอบการประเมินของผู้ขอรับการประเมินแต่ละราย เข้าสู่ระบบดังกล่าว เป็นประจำทุกรอบการประเมิน

          ๑.๒ ในกรณีที่หน่วยงาน เช่น สถานศึกษา ไม่มีหรือมีแต่ไม่พร้อม หรือไม่มีประสิทธิภาพของปัจจัยพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต) เพื่อรองรับระบบการประเมิน DPA  หรือด้วยเหตุผลความจำเป็นอย่างอื่นใดเป็นพิเศษ ก็ให้หน่วยงานเหนือขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบระบบ DPA แทน

 

๒. การใช้ระบบ DPA ในขั้นตอนการยื่นคำขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ

ในขั้นตอนการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น หากเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ และประสงค์จะขอมีวิทยฐานะหรือขอเลื่อนวิทยฐานะให้ยื่นคำขอต่อหน่วยงานได้ตลอดทั้งปี กรณีสถานศึกษาให้ยื่นภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อให้หน่วยงานหรือสถานศึกษานั้นๆ ตรวจสอบ รับรองคุณสมบัติและนำข้อมูลพร้อมหลักฐานเข้าสู่ระบบ DPA โดยมีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัล ได้แก่

 

๒.๑ กรณีครูขอวิทยฐานะชำนาญการหรือวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โดยกำหนดให้มีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัลที่จะต้องส่งเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

                     ๑) ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน (หรือ ๒ รอบ หรือ ๑ รอบการประเมินแล้วแต่กรณีเนื่องจากมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง) ในรูปไฟล์ PDF

                     ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้จัดการเรียนรู้ตามที่ปรากฏในไฟล์วีดีทัศน์บันทึกการสอนในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน ๑ ไฟล์

                    ๓) ไฟล์วีดีทัศน์บันทึกการสอนซึ่งสอดคล้องกับแผนการเรียนรู้ ตาม ๒) จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๔) ไฟล์วีดีทัศน์แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ แผนการเรียนรู้ตาม ๒) จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๕) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลงาน หรือผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่ปรากฎภายหลังจากการจัดการเรียนรู้และการจัดชั้นเรียน ตามไฟล์วีดีทัศน์บันทึกการสอน จำนวนไม่เกิน ๓ ไฟล์

 

๒.๒ กรณีครูขอวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยกำหนดให้มีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัลที่จะต้องส่งเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

                     ๑) ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน หรือ ๒ รอบการประเมินแล้วแต่กรณี เนื่องจากมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง) ในรูปไฟล์ PDF

                     ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้จัดการเรียนรู้ตามที่ปรากฏในไฟล์วีดีทัศน์บันทึกการสอนในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๓) ไฟล์วีดีทัศน์บันทึกการสอนซึ่งสอดคล้องกับแผนการเรียนรู้ ตาม ๒) จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๔) ไฟล์วีดีทัศน์แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ แผนการเรียนรู้ตาม ๒) จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๕) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลงาน หรือผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่ปรากฎภายหลังจากการจัดการเรียนรู้และการจัดชั้นเรียน ตามไฟล์วีดีทัศน์บันทึกการสอน จำนวนไม่เกิน ๓ ไฟล์

 

๒.๓ กรณีผู้บริหารสถานศึกษาขอวิทยฐานะชำนาญการหรือวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โดยกำหนดให้มีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัลที่จะต้องส่งเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

                     ๑) ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน (หรือ ๒ รอบ หรือ ๑ รอบการประเมินแล้วแต่กรณีเนื่องจากมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง) ในรูปไฟล์ PDF

                     ๒) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษา ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๓) ไฟล์วีดีทัศน์ที่นำเสนอการพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษา ที่เสนอตาม ๒ แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการพัฒนาสถานศึกษา จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๔) ไฟล์วีดีทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา ที่เสนอ ตาม ๒  จำนวน ๑ ไฟล์

 

๒.๔ กรณีรองผู้อำนวยการสถานศึกษาขอวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โดยกำหนดให้มีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัลที่จะต้องส่งเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

                     ๑) ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน หรือ ๒ รอบการประเมินแล้วแต่กรณีเนื่องจากมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง) ในรูปไฟล์ PDF

                     ๒) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษา ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๓) ไฟล์วีดีทัศน์ที่นำเสนอการพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษา ที่เสนอตาม ๒ แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการพัฒนาสถานศึกษา จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๔) ไฟล์วีดีทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา ที่เสนอ ตาม ๒  จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๕) ผลงานวิชาการตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษา หรือนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญ จำนวน ๑ รายการในรูปแบบ ไฟล์ PDF

 

๒.๕ กรณีผู้อำนวยการสถานศึกษาขอวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษ โดยกำหนดให้มีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัลที่จะต้องส่งเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

                     ๑) ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน หรือ ๒ หรือ ๑ รอบการประเมินแล้วแต่กรณีเนื่องจากมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง) ในรูปไฟล์ PDF

                     ๒) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษา ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๓) ไฟล์วีดีทัศน์ที่นำเสนอการพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษา ที่เสนอตาม ๒ แสดงถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการพัฒนาสถานศึกษา จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๔) ไฟล์วีดีทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา ที่เสนอ ตาม ๒  จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๕) ผลงานวิชาการ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษา หรือนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ จำนวน ๑ รายการ ในรูปแบบ ไฟล์ PDF (กรณีขอเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษ)

                     ๖) ผลงานวิชาการ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษา หรือนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มหนึ่ง ๑ หรือกลุ่ม ๒  จำนวน ๑ รายการ ในรูปแบบ ไฟล์ PDF (เฉพาะกรณีขอเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ)

                     ๗) บทความการวิจัยตาม ๖ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน ๑ รายการ ในรูปแบบ ไฟล์ PDF

 

๒.๖ กรณีศึกษานิเทศก์ขอวิทยฐานะชำนาญการหรือวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โดยกำหนดให้มีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัลที่จะต้องส่งเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

                     ๑) ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน หรือ ๒ รอบ หรือ ๑ รอบการประเมินแล้วแต่กรณีเนื่องจากมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง) ในรูปไฟล์ PDF

                     ๒) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๓) ไฟล์วีดีทัศน์ที่นำเสนอการพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ที่เสนอตาม ๒  จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๔) ไฟล์วีดีทัศน์การนำเสนอการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ที่เสนอ ตาม ๒  จำนวน ๑ ไฟล์

 

๒.๗ กรณีศึกษานิเทศก์ขอวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยกำหนดให้มีหลักฐานเอกสารในรูปไฟล์ดิจิทัลที่จะต้องส่งเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

                     ๑) ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง ๓ รอบการประเมิน หรือ ๒ รอบการประเมินแล้วแต่กรณีเนื่องจากมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง) ในรูปไฟล์ PDF

                     ๒) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๓) ไฟล์วีดีทัศน์ที่นำเสนอการพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ที่เสนอตาม ๒  จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๔) ไฟล์วีดีทัศน์การนำเสนอการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ที่เสนอ ตาม ๒  จำนวน ๑ ไฟล์

                     ๕) ผลงานวิชาการ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา หรือนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอประเมิน จำนวน ๑ รายการ ในรูปแบบ ไฟล์ PDF (กรณีขอเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษ)

                     ๖) ผลงานวิชาการ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา หรือนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอประเมิน โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มหนึ่ง ๑ หรือกลุ่ม ๒  จำนวน ๑ รายการ ในรูปแบบ ไฟล์ PDF (เฉพาะกรณีขอเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ)

                     ๗) บทความการวิจัยตาม ๖ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน ๑ รายการ ในรูปแบบ ไฟล์ PDF

 

๓. การใช้ระบบ DPA ในขั้นตอนการประเมินเพื่อมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ได้แก่

๓.๑ การประเมินเพื่อมีวิทยฐานะชำนาญการหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

                     ๑) ให้หน่วยงาน หน่วยงานการศึกษาแล้วแต่กรณี ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ผู้ขอไม่มีคุณสมบัติ หรือข้อมูลคำของ หลักฐานประกอบ ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ส่งเรื่องคืนพร้อมเหตุผลผ่านระบบ DPA โดยเร็วเพื่อแจ้งให้ผู้ขอทราบ

                     ๒)  ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหรือส่วนราชการเสนอให้ กศจ. หรือ อ.ค.ก.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้งขึ้น แล้วแต่กรณีเห็นชอบให้ศึกษาธิการจังหวัดหรือส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินด้านที่ ๑ และดานที่ ๒ จากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ที่  ก.ค.ศ.กำหนด จำนวน ๓ คน ต่อผู้ขอรับการประเมิน ๑ คน โดยการกำหนดบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ และการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน ให้ดำเนินการผ่านระบบ DPA

                     ๓) ให้ศึกษาธิการจังหวัดหรือส่วนราชการแล้วแต่กรณี ส่งผ่านข้อมูลของผู้ขอจากระบบ DPA ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน และคณะกรรมการควรประเมินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเมื่อศึกษาธิการจังหวัดหรือส่วนราชการแล้วแต่กรณีได้รับผลการประเมินจากคณะกรรมการ แล้วให้นำผลการประเมินให้ให้ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้งขึ้น แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

                     ๔) ให้ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้งขึ้น แล้วแต่กรณีเป็นผู้อนุมัติผล โดยให้มีผลไม่ก่อนวันที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษานำข้อมูลคำขอพร้อมทั้งหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะครบถ้วนสมบูรณืเข้าสู่ระบบ DPA

                     ๕) เมื่อ กศจ. หรือ อ.ค.ก.ศ. ที่ ก.ค.ศ.ตั้งขึ้น แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติผลหรือไม่อนุมัติผลแล้ว ให้ศึกษาธิการจังหวัดหรือส่วนราชการแล้วแต่กรณีแจ้งมติเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านระบบ DPA ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเพื่อแจ้งให้ผู้ขอทราบ

 

๓.๒ การประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษ

                     ๑) ให้หน่วยงาน หรือ หน่วยงานการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ผู้ขอไม่มีคุณสมบัติ หรือข้อมูลคำของหลักฐานประกอบ ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ส่งเรื่องคืนพร้อมเหตุผลผ่านระบบ DPA โดยเร็วเพื่อแจ้งให้ผู้ขอทราบ หากถูกต้องก็ส่งต่อไปยัง ก.ค.ศ. ผ่านระบบ DPA

                     ๒)  ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ตรวจสอบคุณสมบัติ รวมทั้งหลักฐานของผู้ขอ กรณีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ผู้ขอไม่มีคุณสมบัติหรือข้อมูลคำขอหรือหลักฐานเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ส่งเรื่องคืนพร้อมเหตุผลผ่านระบบ DPA ไปยังหน่วยงาน หรือส่วนราชการแล้วแต่กรณีโดยเร็ว เพื่อให้สถานศึกษาแจ้งผู้ขอทราบ

                     ๓) ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เสนอ ก.ค.ศ. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินด้านที่ ๑ ด้านที่ ๒ และด้านที่ ๓ จากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ที่  ก.ค.ศ.กำหนด จำนวน ๓ คน ต่อผู้ขอรับการประเมิน ๑ ราย ทั้งนี้การกำหนดบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ และการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน ให้ดำเนินการผ่านระบบ DPA และให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ส่งข้อมูลของผู้ขอจากระบบ DPA ให้คณะกรรมการประเมินต่อไป

                     ๔) ให้คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการ  ทั้งนี้คณะกรรมการควรประเมินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว กรณีที่คณะกรรมการประเมินด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ แต่ด้านที่ ๓ เห็นควรให้ปรับปรุงผลงานวิชาการ โดยมีผลการประเมินจากคณะกรรมการไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ คน ผ่านเกณฑ์ ทั้งนี้ผลงานทางวิชาการต้องอยู่ในวิสัยที่ปรับปรุงได้ ซึ่งต้องไม่เป็นการแก้ไขข้อมูลที่กระทบต่อความถูกต้องตามหลักวิชาการและก.ค.ศ.มีมติให้ปรับปรุง ให้ปรับปรุงตามข้อสังเกตของคณะกรรมการได้ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งมติเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านระบบ DPA

                     เมื่อผู้ขอปรับปรุงผลงานทางวิชาการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ให้ส่งผลงานทางวิชาการในรูปแบบไฟล์ DPF ผ่านระบบ DPA ตามเวลาที่กำหนดไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ.เพื่อส่งผลงานทางวิชาการไปให้คณะกรรมการชุดเดิมตรวจและประเมินต่อไป

                     ให้คณะกรรมการประเมินส่งข้อมูลผลการประเมินเข้าสู่ระบบ DPA ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. นำเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา

                     ๕) ให้สำนักงาน ก.ค.ศ.นำผลการประเมินจากกรรมการการ ให้ กคศ. เป็นผู้พิจารณาหากอนุมัติให้มีผลไม่ก่อนวันที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษานำข้อมูลคำขอพร้อมทั้งหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะครบถ้วนสมบูรณ์เข้าสู่ระบบ DPA สำหรับการอนุมัติผล กรณี ก.ค.ศ.ให้มีการปรับปรุงผลงานทางวิชาการ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษานำข้อมูลผลงานวิชาการที่ปรับปรุงครบถ้วนสมบูรณ์ คำขอพร้อมทั้งหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะครบถ้วนสมบูรณ์ในรูปแบบไฟล์ PDF เข้าสู่ระบบ DPA

                     ๖) เมื่อ กคศ.พิจารณาอนุมัติผลหรือไม่อนุมัติผลแล้ว ให้สำนักงาน ก.ค.ศ.แจ้งมติเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านระบบ DPA ไปยังหน่วยงาน หน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัดเพื่อแจ้งให้ผู้ขอทราบ

จะเห็นว่า ทุกขั้นตอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะตามระบบการพัฒนางานตามข้อตกลง(PA) ทั้งการประเมินตามข้อตกลงพัฒนางาน และการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ต้องการให้เกิดผลลัพธ์ทางการศึกษาเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มความรวดเร็วโดยนำระบบอิเลคทรอนิกส์(DPA)มาใช้ การประเมินจากไฟล์เอกสารและวีดีโอเป็นหลัก ไม่มีการประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงาน (ยกเว้นตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา) ไม่ต้องจัดแฟ้ม จัดนิทรรศการ หรือตกแต่งอาคารสถานที่ ดูได้จากคำขอ เอกสารหรือหลักฐานการขอรับประเมินฯ ไม่กำหนดให้รายงานหรือ อ้างอิงเกี่ยวกับผลงานดีเด่น เกียรติบัตร โล่หรือรางวัลเลย ดังนั้น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงไม่มีความจำเป็นต้องไล่ล่าหาโล่ รางวัล ขอเพียงแต่ทำหน้าที่ให้เกิดผลลัพธ์ตรงหน้างาน นั่นคือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพอย่างแท้จริง

 

บวร เทศารินทร์

Exit mobile version