ข้าราชการพลเรือนสามัญ นอกจากจะได้รับสวัสดิการที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังได้รับสิทธิประโยชน์จากราชการ ที่เป็นเงินเพิ่ม เงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ดังนี้
1. เงินเพิ่ม
เงินเพิ่ม คือ ค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นตามลักษณะของงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจ และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติราชการ โดยจะจ่ายให้กับข้าราชการที่มีสภาพการทำงานไม่น่าอภิรมย์ ยากลำบากตรากตรำ เสี่ยงภัย เคร่งเครียด กดดัน หรือเป็นการทำงานที่มีสภาพการทำงานเสี่ยงอันตรายทั้งต่อชีวิตร่างกาย อาจมีผลกระทบต่อร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคจากการปฏิบัติงาน การสูญเสียอวัยะ หรือเป็นการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์สูง ซึ่งเป็นสาชาที่ขาดแคลน มีการสูญเสียผู้ปฏิบัติงานออกจากระบบราชการเป็นจำนวนมาก
สามารถจำแนกประเภทเงินเพิ่ม และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ หมายถึง เงินตามจำนวนที่จ่ายเพิ่มให้กับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงตำแหน่ง ตามบัญชีกำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน เข่น ผู้ปฏิบ ติงานในหน่วยงาน สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชนตามกลุ่มตำแหน่ง ที่ตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ผู้ปฏิบัติงานในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้ปฏิบัติงานที่เรือนจำตามกฎหมายราชทัณฑ์ในกรม ราชทัณฑ์ตามกลุ่มตำแหน่ง ที่ตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ครูการศึกษาพิเศษ ในทุกส่วนราชการ ผู้ปฏิบัติงานด้านการข่าว ในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เจ้าพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศในสำนักฝนหลวง และการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ ในกรมศิลปากร นักบินหรือนักบิน ผู้ตรวจการบินบนอากาศยานเป็นประจำ ผู้ตรวจสอบการปฏิบัติการบินทดสอบ (Avionics) บนเครื่องบินทดสอบเป็นประจำ ผู้ปฏิบัติงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบบังคับรักษาในศูนย์ฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยำเสพติด กรมคุมตามกลุ่มตำแหน่ง ที่ตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ผู้ปฏิบัติงานปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด เป็นต้น รายละเอียดตามนี้
· ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
· ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
· ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
· ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
· บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
· ว2/2555 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก.
รับรองหลักสูตรการพัฒนาและเพิ่มทักษะนิติกร (ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล)
· ว20/2554 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก.
รับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมายมหาชน ม.ธรรมศาสตร์
· ว3/2554 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก.
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 สิ่งที่ส่งมาด้วย 3 สิ่งที่ส่งมาด้วย 4
· หนังสือซักซ้อมความเข้าใจ นร 1008.1-56/2554 แนวทางการตรวจสอบคุรสมบัติของบุคคลที่ขอรับ พ.ต.ก.
· ว23/2553 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก. ยกเลิกโดย ว3/2554
· ว2/2553 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก. ยกเลิกโดย ว3/2554
· ว31/2552 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก. ยกเลิกโดย ว3/2554
· ว18/2552 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก. ยกเลิกโดย ว3/2554
· ว 14/2552 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลให้ได้รับ พ.ต.ก. ยกเลิกโดย ว3/2554
· คำอธิบายการจ่าย พ.ต.ส. ปี 2552 ของ ก.สธ.
คลิกดาวน์โหลด กฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพิเศษ >>>
1.2 เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างประเทศ (พ.ข.ต.)
ระเบียบการได้รับ พ.ข.ต.
· ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างประเทศ พ.ศ. 2555
· ระเบียบการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2504 ยกเลิก
การจ่าย พ.ข.ต.
· หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่าย พ.ข.ต. (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
· หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่าย พ.ข.ต. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
· หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่าย พ.ข.ต. พ.ศ. 2555
คลิกดาวน์โหลด กฎหมายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างประเทศ (พ.ข.ต.)>>>
1.3 เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยมีรายละเอียดดังนี้
· ระเบียบ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2549
· ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2549
· ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งผู้ทำการในอากาศ พ.ศ. 2545
· ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ พ.ศ. 2545
· ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษในกรมประชาสงเคราะห์ พ.ศ. 2540
· ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ พ.ศ. 2539
คลิกดาวน์โหลด เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 >>>
1.4 เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518
· ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2534
คลิกดาวน์โหลด กฎหมายเกี่ยวกับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518>>>
2. เงินประจำตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง คือ ค่าตอบแทนกำหนดขึ้นสำหรับข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด เช่น ตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะด้านการบริหารซึ่งมีความรับผิดชอบทั้งด้านการบริหารแผนงาน แผนเงิน และแผนคนในองค์กร รวมทั้งตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางด้านอาชีพ เป็นต้น ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการกำหนดเงินประจำตำแหน่งนั้น ก็เพื่อลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนของภาคราชการกับอัตราตลาด และเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียกำลังคนในภาคราชการในขณะนั้น
ระเบียบอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2561
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2559
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
· กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551
การจ่ายเงินประจำตำแหน่ง
· พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
· พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
· พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
· พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินประจำตำแหน่งฯ พ.ศ. 2539
· ว21/2551 ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551
คลิกดาวน์โหลด กฎหมายเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ >>>
3. ค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
ค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน คือ ค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นด้วยเหตุผลในลักษณะคล้ายคลึงกับเงินประจำตำแหน่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนภาคราชการกับอัตราตลาด และเพื่อรักษาไว้ซึ่งกำลังคนคุณภาพในภาครัฐซึ่งในขณะนั้นมีการสูญเสียไปสู่ภาคเอกชนจำนวนมาก โดยข้าราชการที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งจะได้รับเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนเท่ากับเงินประจำตำแหน่ง ยกเว้นตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ จะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนในส่วนนี้ และข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ที่ไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่งจะได้รับค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนในอัตรา 3,500 บาทต่อเดือน
ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
· ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
· ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
· ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
· ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนฯ พ.ศ. 2547
คลิกดาวน์โหลด กฎหมายเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่นอกเหนือจากเงินเดือน >>>
อ้างอิง ; สำนักงาน ก.พ.
บวร เทศารินทร์